Page 12 - คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมีเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         4



                                                             บทที่ 2

                                           กำรเก็บตัวอย่ำงดินเพื่อกำรวิเครำะห์ทำงเคมี


                              การเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์หรือการวิจัย เพื่อประเมินถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                       ปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช หรือสมบัติทางเคมีและทางกายภาพที่ส าคัญบางอย่าง เป็น
                       เรื่องที่ส าคัญมากที่สุด ทั้งนี้เพราะผลวิเคราะห์ดินจะมีความถูกต้องเชื่อมั่นได้เพียงใด ขึ้นอยู่กับตัวอย่าง
                       ดินที่เก็บมา ถ้าเก็บตัวอย่างดินไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ กล่าวคือไม่เป็นตัวแทนที่แท้จริงของดินใน

                       พื้นที่นั้น ถึงแม้จะท าการวิเคราะห์ดินละเอียดเพียงใดก็ตาม ผลวิเคราะห์ดินที่ได้ออกมา ก็ไม่สามารถ
                       น ามาใช้ประเมินได้ถูกต้อง ท าให้เสียเวลา และสิ้นเปลืองสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ การเก็บตัวอย่าง
                       ดินให้มีปริมาณ และสมบัติทุกประการเหมือนกับดินทั้งหมดในบริเวณนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้

                       เพราะว่าดินมีสมบัติและปริมาณธาตุต่างๆที่ไม่สม่ าเสมออยู่แล้ว ดังนั้น การเก็บตัวอย่างดินจึงต้องท า
                       ให้ถูกหลักเกณฑ์ เพื่อว่าตัวอย่างดินที่เก็บมาวิเคราะห์นั้นจะเป็นตัวแทนที่ดีของดินส่วนใหญ่ในพื้นที่
                       นั้นๆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

                              การเก็บตัวอย่างดินมาวิเคราะห์สมบัติทางเคมีและปริมาณธาตุอาหารพืช เพื่อการวิจัย การ
                       แนะน าการปรับปรุงดินและการใช้ปุ๋ยนั้น ตัวเลขที่ได้จากการวิเคราะห์จะมีค่าถูกต้องเพื่อการประเมิน

                       ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ควรค านึงถึงความส าคัญต่างๆ ดังนี้
                                 1. ตัวอย่างดินนั้นต้องเป็นตัวแทนที่แท้จริง ซึ่งมีปริมาณธาตุต่าง ๆ และสมบัติเหมือนกับ

                       ดินบริเวณนั้น

                                 2. จากระยะเวลาที่เก็บตัวอย่างดินจนถึงขณะที่เตรียมตัวอย่างดิน ต้องไม่มีปฏิกิริยาอัน
                       ใดเกิดขึ้น ซึ่งจะท าให้สมบัติดินเปลี่ยนไป เช่น ดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดจัด ถ้าดินที่เก็บมามีปริมาณ
                       สารไพไรต์ (FeS ) อยู่ด้วย เมื่อสารไพไรต์ถูกอากาศจะมีปฏิกิริยาเกิดขึ้น กลายเป็นสารจาโรไซต์และ
                                    2
                       กรดก ามะถัน ดังนั้น ถ้าดินเป็นดินเปรี้ยวจัด และมีชั้นเลนลึก ซึ่งมีธาตุก ามะถันสูง ถ้าจะเก็บดินชั้นนี้
                       มาวิเคราะห์จ าเป็นที่จะต้องเก็บวิธีพิเศษ

                                 3. การแบ่งตัวอย่างดินที่จะใช้วิเคราะห์นั้น ต้องแน่ใจว่าจะมีปริมาณและสมบัติเป็น
                       ตัวแทนของตัวอย่างเดิม

                        2.1 กำรเก็บตัวอย่ำงดิน

                                 การเก็บตัวอย่างดินที่นิยมกระท ากันมีอยู่  2 ประเภท ประเภทแรกเป็นการเก็บตัวอย่าง

                       ดิน เพื่อใช้ตรวจวิเคราะห์ ส าหรับประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน หรือเพื่อน ามาใช้แนะน าใช้ปุ๋ย
                       ส าหรับพืชที่ต้องการปลูก และประเภทที่สองเป็นการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการจ าแนกดิน

                                 การเก็บตัวอย่างดินประเภทแรก เป็นการเก็บตัวอย่างดินเฉพาะหน้าดิน ซึ่งนิยมท ากันอยู่
                       ทั่วๆไป เพื่อน าผลที่ได้ไปพิจารณาว่า ควรใช้วัสดุปรับปรุงดิน เช่น ปุ๋ย หรือปูนชนิดใด และใช้เป็น
                       ปริมาณเท่าใดจึงจะเหมาะกับพืชที่จะปลูก

                                 ส าหรับการเก็บตัวอย่างดินเพื่อใช้จ าแนกดิน ตามปกติจะเก็บจากหลุมที่ขุดกว้าง 1 เมตร
                       ยาว 2 เมตร และลึก 2 เมตร การเก็บตัวอย่างดินจะเก็บตามชั้นดิน (soil horizon) ซึ่งได้มาจากการ
                       ท าค าบรรยายหน้าตัดดินตามระบบการมาตรฐานสากล ตัวอย่างดินที่เก็บแต่ละชั้นจะมี 3 ตัวอย่าง

                       เก็บใส่ถุงเพื่อส่งวิเคราะห์ทางเคมี เก็บใส่กล่องให้คงสภาพธรรมชาติเพื่อวิเคราะห์ทางจุลสัณฐานวิทยา
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17