Page 46 - ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document)
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       3-3





                  3.2  การวิเคราะห์ (Analysis)
                         เพื่อให้การพัฒนาระบบ e-Document สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในระดับต่างๆ ได้
                  อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ ดังนี้

                         3.2.1  ศึกษาการท างานของระบบปัจจุบัน (ระบบเดิม)
                                ระบบเดิมมีการท างานแยกออกเป็น 3 ระบบ รายละเอียดแต่ละระบบ ดังนี้
                                1) ระบบหนังสือเวียน เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อจัดเก็บข้อมูลหนังสือเวียน เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี
                  พ.ศ.2544 โดยเป็นการแจ้งเวียนเรื่องจากหน่วยงานส่วนกลาง เพื่อให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาที่ดินได้

                  รับทราบ ซึ่งหน่วยงานที่มีสิทธิ์น าข้อมูลเข้าระบบหนังสือเวียน คือ ส านักงานเลขานุการกรม เพียงหน่วยงาน
                  เดียว ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานโปรแกรมเพื่อเรียกดูข้อมูลผ่านเว็บ  Browser ได้ที่เว็บไซต์ Intranet  กรม
                  พัฒนาที่ดิน เลือกหัวข้อ หนังสือเวียน แต่เนื่องจากระบบถูกพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีแบบเก่า จึงยังไม่มีระบบ
                  Search Engine แม้มีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูล ท าให้ในการเรียกดูข้อมูลผู้ใช้ต้องค้นหาข้อมูลโดย

                  เลือกปี เลือกเดือน จากนั้นเลื่อนหาข้อมูลไปทีละหน้ากว่าจะพบข้อมูลที่ต้องการ  ไม่สามารถตอบสนองความ
                  ต้องการใช้ข้อมูลได้ทันที
                                2) ระบบค าสั่งต่าง ๆ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อจัดเก็บข้อมูลค าสั่งต่าง ๆ ของกรมพัฒนาที่ดิน

                  เช่น ย้ายข้าราชการ เลื่อนข้าราชการ บรรจุแต่งตั้งผู้ได้รับการคัดเลือก โดยกองการเจ้าหน้าที่ เท่านั้นที่มีสิทธิ์น า
                  ข้อมูลค าสั่งต่าง ๆ เข้าระบบ ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานโปรแกรมเพื่อเรียกดูข้อมูลผ่านเว็บ Browser ได้ที่เว็บไซต์
                  Intranet  ของกรมพัฒนาที่ดิน เลือกหัวข้อ ค าสั่งต่าง ๆ แต่เพราะเป็นระบบที่ถูกพัฒนาและเริ่มใช้งานตั้งแต่ปี
                  พ.ศ. 2544  ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้จึงมีปริมาณมาก ในการค้นหาข้อมูลค าสั่งต่างๆ ย้อนหลัง กรณีที่ไม่ทราบวันที่
                  ออกค าสั่ง ผู้ใช้งานต้องสุ่มเลือก ปี และเลือกเดือน ที่ต้องการดูข้อมูล แล้วเลื่อนดูข้อมูลทีละรายการจนกว่า จะ

                  พบข้อมูลที่ต้องการ เนื่องจากระบบยังไม่มีการค้นหาข้อมูลแบบ Search engine ท าให้ไม่สะดวกในการค้นหา
                  ข้อมูล
                                3)  ระบบแจ้งเรื่องรักษาราชการแทน อธพ. และ รธพ. เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อจัดเก็บ

                  ข้อมูล เรื่องรักษาราชการแทน อธพ.  รธพ.วก  รธพ.ปก. และ รธพ.บร.  โดยหน่วยงานที่มีสิทธิ์น าข้อมูล เข้า
                  ระบบ คือ  ส านักงานเลขานุการกรม  แสดงผลข้อมูลในรูปแบบเว็บไซต์ ผู้ใช้งานสามารถเรียกดูข้อมูลผ่านเว็บ
                  Browser ได้ที่ เว็บไซต์   Intranet  กรมพัฒนาที่ดิน เลือกหัวข้อ แจ้งเรื่องรักษาราชการแทน อธพ. และ รธพ.
                  แม้มีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบฐานข้อมูล แต่ในการเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง ผู้ใช้งานต้องท าการเลือก ปี และ

                  เดือนที่ต้องเรียกดูข้อมูล ไม่สามารถค้นหาแบบเจาะจงรายการหรือใส่เงื่อนไขในการค้นหาเพื่อเรียกดูข้อมูลใน
                  รายการที่ต้องการได้ทันที ท าให้เสียเวลาในการค้นหาข้อมูล

                         3.2.2  ศึกษาและรวบรวมข้อมูลความต้องการของระบบใหม่ ดังนี้

                                ศึกษาความต้องการของผู้ใช้งาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานเดิม เพื่อพัฒนาให้ระบบ
                  e-Document  ได้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน สามารถรองรับการน าเข้าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จากหน่วย
                  ต่าง ๆ ภายในกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน ลดการใช้กระดาษและงบประมาณในองค์กรตามเป้าหมาย
                  ที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย

                                1) ศึกษาความต้องการของผู้ดูแลระบบ พบว่า ผู้ดูแลระบบต้องเป็นผู้ท าหน้าที่ก าหนดสิทธิ์
                  ให้กับผู้ใช้งานเพื่อ บันทึก/แก้ไข ข้อมูลหนังสือเวียน ค าสั่งต่าง ๆ และ แจ้งเรื่องรักษาราชการแทน อธพ. และ
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51