Page 34 - ศักยภาพของพื้นที่ใช้ในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยโสธร
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                27







                                                             บทที่ 3
                                                        การตรวจเอกสาร


                       3.1  การวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
                            3.1.1 การวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน
                                  ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนได้น าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาใช้

                       เป็นเครื่องมือส าหรับการส ารวจและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึง
                       ทรัพยากรที่ดินกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยให้การท างานมีประสิทธิภาพ
                       และมีความรวดเร็วและแม่นย ายิ่งขึ้น เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเกิดจากการบูรณาการ 3 องค์ประกอบหลัก
                       คือ เทคโนโลยีทางด้านการรับรู้จากระยะไกล (Remote  Sensing:  RS) ที่ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมซึ่งเป็น

                       ข้อมูลที่มีขอบเขตและต าแหน่งที่อ้างอิงทางภูมิศาสตร์ได้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic
                       Information System: GIS) ใช้ในการรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ และระบบ
                       ก าหนดต าแหน่งบนโลก (Global  Positioning  System:  GPS)  เป็นตัวก าหนดต าแหน่งข้อมูลที่สามารถ

                       เชื่อมโยงและเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว
                                  ก่อนน าเทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้นมาใช้ในการวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินและการ
                       เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินนั้น ต้องเลือกข้อมูลดาวเทียมโดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการท างาน
                       เช่น ประเภทข้อมูล ชนิดของดาวเทียม อุปกรณ์การบันทึกข้อมูล พื้นที่ครอบคลุม ระยะเวลาที่บันทึก
                       ข้อมูล ปริมาณเมฆปกคลุม เป็นต้น หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการเตรียมข้อมูลก่อนการวิเคราะห์

                       ได้แก่ การน าเข้าข้อมูล การแก้ไขข้อมูลเชิงเรขาคณิต (Geometric  correction)  การแก้ไขเชิงสเปกตรัม
                       (Spectral correction) การเน้นภาพ (Image enhancement) การผสมสี (Color combination)
                       เป็นต้น เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องหรือมีความชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมส าหรับการน าไปใช้ในขั้นตอนการ

                       วิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
                       สายตา (Visual interpretation) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข (Digital analysis)
                                  การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตา เป็นการวิเคราะห์ อ่านแปล และตีความจากภาพถ่าย
                       ทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม โดยพิจารณาความแตกต่างของสี เงา ความหยาบละเอียด รูปแบบ

                       ขนาดและต าแหน่งที่ตั้งของวัตถุ ในอดีตเป็นการด าเนินการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศคู่ที่มีส่วนซ้อน
                       ร้อยละ 60 ด้วยกล้องมองภาพ 3 มิติ แต่ปัจจุบันเป็นการแปลภาพด้วยสายตาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์
                       เพื่อที่จะจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็นประเภทต่าง ๆ (ชามาพร, 2554)
                                  การจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้ยึดถือแนวทางตามระบบการจ าแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                       กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางภาคผนวกที่ 1)
                       โดยจ าแนกประเภทการใช้ที่ดินหลักออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง
                       (Urban and Built-up land) 2) พื้นที่เกษตรกรรม (Agricultural land) 3) พื้นที่ป่าไม้ (Forest land)
                       4) พื้นที่น้ า (Water  body) และ  5) พื้นที่เบ็ดเตล็ด (Miscelleneous  land) จากนั้นจ าแนกประเภท

                       การใช้ที่ดินย่อยอย่างเป็นระบบไปสู่หน่วยย่อยในระดับที่ 2 และระดับที่ 3  โดยระดับที่  3 ส่วนใหญ่
                       ระบุในงานระดับจังหวัดหรือระดับโครงการ (สุเทพ, 2554) โดยมีรายละเอียดดังนี้
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39