Page 36 - ศักยภาพของพื้นที่ใช้ในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยโสธร
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               29







                       ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่แบบฮิสโทแกรม เป็นตัวก าหนดความแตกต่างระหว่างแต่ละกลุ่มข้อมูล
                       และให้ซอฟแวร์ด าเนินการจ าแนกกลุ่มข้อมูลบนพื้นฐานของค่าสถิติอีกวิธีการหนึ่ง คือ การจ าแนกข้อมูล
                       แบบไม่ควบคุม (Unsupervised  classification) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเช่นเดียวกับ
                       วิธีแรก แต่วิธีการนี้ผู้วิจัยไม่ต้องก าหนดพื้นที่ตัวอย่าง ซอฟแวร์ จะด าเนินการสุ่มตัวอย่างแบบคละแล้ว

                       จ าแนกเป็นแต่ละกลุ่มข้อมูล ซึ่งมีลักษณะเชิงคลื่นเหมือนกันโดยใช้เทคนิคการรวมกลุ่ม (Clustering)
                       (ชามาพร, 2554)
                            3.1.2  สภาพการใช้ที่ดิน
                                  ที่ดิน (Land) ตามนิยามของกรมที่ดิน มาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หมายความ

                       ว่าพื้นที่ดินทั่วไปและให้หมายความรวมถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง แม่น้ า ทะเลสาบ เกาะ
                       และที่ชายทะเลด้วย นิยามค าว่า “ที่ดิน” นี้จึงหมายถึง พื้นดินทั่ว ๆ ไป บนพื้นผิวโลก ไม่ว่าที่ดินนั้น
                       จะเป็นที่ดินชนิดใด จะอยู่เหนือหรือใต้น้ าก็เป็นที่ดินทั้งสิ้น นอกจากนี้ “ที่ดิน”  ยังหมายถึง ที่ดินบนบก
                       ได้แก่ พื้นดินทั่วไป พื้นที่ภูเขา และยังคลุมไปถึงดินซึ่งอยู่ใต้ผิวน้ าตื้น ๆ เช่น ที่ดินที่อยู่ในห้วย หนอง

                       คลอง บึงต่าง ๆ ส่วนที่ดินที่อยู่ในน้ าลึก ๆ เช่น แม่น้ า และทะเล ไม่ใช่ความหมายของที่ดินในประมวล
                       กฎหมายนี้ ในขณะที่กรมพัฒนาที่ดิน ก็ได้ให้นิยามค าว่า “ที่ดิน” หมายถึง พื้นที่ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ
                       หรือถูกดัดแปลงสภาพ อันอาจใช้ประโยชน์สนองความต้องการของมนุษย์ในทางต่าง ๆ โดยค านึงถึง

                       ผลตอบแทนจาการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวนั้นเป็นประการส าคัญ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
                                  การใช้ที่ดิน (Land Use) หมายถึง การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม
                       และอื่น ๆ อาจมีการส ารวจท าเป็นแผนที่แสดงการใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ พื้นที่ที่เป็นที่เพาะปลูกพืช
                       ต่าง ๆ เป็นต้น (ราชบัณฑิตยสถาน, 2543)
                                  สภาพการใช้ที่ดินของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2556  โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม

                       รายละเอียดสูง ได้แก่ ไทยโชต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตาเบื้องต้น เพื่อก าหนดจุดส ารวจและตรวจสอบ
                       ข้อมูลในภาคสนาม จากนั้นจึงใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จัดท าแผนที่การใช้ที่ดินและค านวณเนื้อที่
                       การใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ เป็นรายจังหวัด พบว่า ประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมด 320,696,887 ไร่

                       สามารถแบ่งตามสภาพการใช้ที่ดินหลักได้ 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 16,521,933 ไร่
                       หรือร้อยละ 50.15 ของเนื้อที่ประเทศ พื้นที่เกษตรกรรม 71,680,165 ไร่ หรือร้อยละ 54.36 ของเนื้อที่
                       ประเทศ พื้นที่ป่าไม้ 109,260,949 ไร่ หรือร้อยละ 34.06 ของเนื้อที่ประเทศ พื้นที่น้ า 8,982,751 ไร่
                       หรือร้อยละ 2.80 ของเนื้อที่ประเทศ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด 11,625,212 ไร่ หรือร้อยละ 3.63 ของเนื้อที่

                       ประเทศ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) และเมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่า จังหวัดพิจิตร พ.ศ. 2556
                       มีพื้นที่ทั้งหมด 2,831,883 ไร่ สามารถแบ่งตามสภาพการใช้ที่ดินหลักได้ 5 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ชุมชน
                       และสิ่งปลูกสร้าง 191,703 ไร่ หรือร้อยละ 6.77 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่เกษตรกรรม 2,463,644 ไร่
                       หรือร้อยละ 87.00 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ป่าไม้ 29,661  ไร่ หรือร้อยละ 1.05 ของเนื้อที่จังหวัด

                       พื้นที่น้ า 73,131 ไร่ หรือร้อยละ 2.58 ของเนื้อที่จังหวัด และพื้นที่เบ็ดเตล็ด 73,744 ไร่ หรือร้อยละ
                       2.60 ของเนื้อที่จังหวัด (กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน, 2556)
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41