Page 31 - ศักยภาพของพื้นที่ใช้ในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยโสธร
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               24







                       จากดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมในรอบ 6 เดือนแรกของปี หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -42.9 เมื่อเทียบกับครึ่งแรก
                       ของปีที่ผ่านมา ตามการลดลงของผลผลิตข้าวจากผลกระทบของภาวะภัยแล้งและการขาดแคลนน้ า
                       เพื่อการเกษตรที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจากช่วงปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้การเพาะปลูกข้าวในช่วงที่
                       ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างมาก ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวจากช่วงครึ่งแรกของปีที่

                       ผ่านมา สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ 17.3 จากการเพิ่มสูงขึ้นของภาษีมูลค่า
                       เพิ่มด้านอุตสาหกรรม หมวดงานโลหะกรรมและผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ใช้ในงานก่อสร้าง จากปัจจัยบวก
                       ด้านการก่อสร้างตามนโยบายรัฐเป็นส าคัญ รวมถึงดัชนีผลผลิต ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 13.9
                       จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามการเพิ่มสูงขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่มห้างสรรพสินค้าและธุรกิจค้าปลีก

                       ขนาดใหญ่ในจังหวัด และภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคาร

                       2.6  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                            2.6.1 ทรัพยากรป่าไม้ จากข้อมูลสถิติการป่าไม้ พ.ศ. 2558 จังหวัดพิจิตร (ส านักงานสถิติ

                       จังหวัดพิจิตร, 2560) มีพื้นที่ป่าไม้ 9,021 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.32 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด และตาม
                       เอกสารของกรมป่าไม้ที่ได้ประกาศพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่รวมประมาณ 3,910 ไร่
                       ได้แก่

                                  1)    ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองดง ต าบลท่าเสา อ าเภอโพทะเล มีพื้นที่ประมาณ 885 ไร่
                       (ปัจจุบันได้ด าเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานนครไชยบวร)
                                  2)    ป่าสงวนแห่งชาติเขาเจ็ดลูก เขาตะพานนาก เขาชะอม ต าบลเขาเจ็ดลูกอ าเภอ
                       ทับคล้อ มีพื้นที่ประมาณ 1,150 ไร่
                                  3)    ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาทราย เขาพระ ต าบลเขาทราย อ าเภอทับคล้อ มีพื้นที่

                       ประมาณ 1,875 ไร่
                            2.6.2 ทรัพยากรน้ า (ส านักงานสถิติแห่งชาติ, 2560)
                                  1)    แหล่งน้ าตามธรรมชาติ ประกอบด้วย แม่น้ า ล าคลอง หนอง บึง ดังต่อไปนี้

                                        (1)  แม่น้ าน่าน ไหลจากจังหวัดพิษณุโลกผ่านจังหวัดพิจิตรที่อ าเภอเมืองพิจิตร
                       อ าเภอตะพานหิน อ าเภอบางมูลนาก ไปจังหวัดนครสวรรค์ มีคลองใหญ่รับน้ าไหลลงสู่แม่น้ าน่าน7 คลอง
                       แม่น้ าน่านช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดพิจิตร มีความยาวประมาณ 97 กิโลเมตร ปริมาณน้ าไหลสูงสุด
                       1,040 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พื้นที่ในลุ่มน้ าประมาณ 2,602 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,626,250 ไร่

                                        (2)  แม่น้ ายม ไหลจากจังหวัดพิษณุโลกผ่านจังหวัดพิจิตร ที่อ าเภอสามง่าม
                       อ าเภอโพธิ์ประทับช้าง อ าเภอโพทะเล ไปจังหวัดนครสวรรค์ มีคลองใหญ่รับน้ าไหลลงสู่แม่น้ ายม 7 คลอง
                       แม่น้ ายมช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดพิจิตร มีความยาวประมาณ 124 กิโลเมตร มีปริมาณน้ าไหลสูงสุด
                       900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พื้นที่ในลุ่มน้ าประมาณ 2,046 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,276,750 ไร่

                                        (3)  แม่น้ าพิจิตร เดิมเป็นแม่น้ าน่าน เมื่อมีการขุดลอกคลองแยกสายท าให้ตื้น
                       เขิน อยู่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ าน่านกับแม่น้ ายม มีความยาว 127 กิโลเมตร ไหลผ่านอ าเภอเมืองพิจิตร
                       อ าเภอโพธิ์ประทับช้าง อ าเภอตะพานหิน แล้วไปบรรจบกับแม่น้ ายมที่บ้านบางคลาน อ าเภอโพทะเล
                       แม่น้ าสายนี้ตื้นเขินมาก และมีฝายกั้นน้ าเป็นช่วง ๆ เพื่อใช้ในสวนผลไม้
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36