Page 38 - ศักยภาพของพื้นที่ใช้ในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยโสธร
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               31







                       สิ่งปลูกสร้าง เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2549 จ านวน 9,329 ไร่ หรือร้อยละ 3.64 ของเนื้อที่เดิม มีสาเหตุมาจาก
                       จ านวนประชากรที่เพิ่มขึ้น พื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2549 จ านวน 224,646 ไร่
                       หรือร้อยละ 5.58 ของเนื้อที่เดิม โดยพบว่าพื้นที่ปลูกมันส าปะหลัง มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา
                       เป็นอ้อย และยางพารา ตามล าดับ พื้นที่ป่าไม้ แบ่งออกเป็น ป่าสมบูรณ์ มีเนื้อที่ลดลงจาก พ.ศ. 2549

                       จ านวน 149,878 ไร่ หรือร้อยละ 5.77 ของเนื้อที่เดิม ป่ารอสภาพฟื้นฟู มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นจาก 17,729 ไร่
                       หรือร้อยละ 4.12  ของเนื้อที่เดิม พื้นที่น้ าเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2549 จ านวน 3,534 ไร่ หรือร้อยละ 1.91
                       ของเนื้อที่เดิม และพื้นที่เบ็ดเตล็ดลดลงจาก พ.ศ. 2549 จ านวน 105,300 ไร่ หรือร้อยละ 21.36
                       ของเนื้อที่เดิม (สลิลา, 2554) ส าหรับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจังหวัดพิจิตร ยังไม่พบว่ามี

                       การศึกษาในเรื่องนี้

                       3.2  เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-information technology)
                            3.2.1 ความหมายของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ  (ส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ

                       ภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2552)
                                  เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หมายถึง การบูรณาความรู้และเทคโนโลยีทางด้านการรับรู้จาก
                       ระยะไกล และระบบการก าหนดต าแหน่งบนโลก ซึ่งเทคโนโลยีทางด้านการรับรู้จากระยะไกล

                       เป็นเทคโนโลยีที่ส าคัญในการศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ บนพื้นโลก และในชั้นบรรยากาศ เพื่อศึกษา
                       และติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยการเลือกใช้ข้อมูล จากดาวเทียมที่มี
                       ความละเอียดของภาพและประเภทของดาวเทียมหลากหลาย ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ในแต่ละเรื่อง
                       นอกจากนี้ข้อมูลจากการส ารวจจากระยะไกลเป็นข้อมูลที่ได้มาอย่างรวดเร็ว สามารถตอบสนองความ
                       ต้องการได้ทันที  ส าหรับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูล

                       และประยุกต์ใช้ในการวางแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้
                       ระบบก าหนดต าแหน่งบนโลกสามารถน ามาใช้ก าหนดต าแหน่งเชิงพื้นที่ และติดตามการเคลื่อนที่
                       ของคนและสิ่งของได้อย่างรวดเร็วและแม่นย า เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจึงเป็นวิทยาการที่ส าคัญ

                       ที่หลายหน่วยงานได้น ามาพัฒนาประเทศในหลายด้าน เช่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                       เกษตร ผังเมือง การจราจรและการขนส่ง ความมั่นคงทางการทหาร ภัยธรรมชาติ และการค้าเชิงธุรกิจ
                       ผลการวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถน ามาประกอบการวางแผนการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
                       ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

                            3.2.2 องค์ประกอบของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
                                  1)    การรับรู้จากระยะไกล ตามค านิยาม มีความหมายว่า เป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะ
                       ของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่ หรือปรากฏการณ์ จากเครื่องมือบันทึกข้อมูลโดยปราศจาก
                       การเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อการได้มาของข้อมูล

                       3 ลักษณะ คือ ช่วงคลื่น (Spectral) รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนผิวโลก (spatial) และการเปลี่ยนแปลง
                       ตามช่วงเวลา (Temporal) ด้วยเครื่องรับรู้ (Sensors)  ซึ่งติดไปกับดาวเทียมหรือเครื่องบิน เครื่องรับรู้
                       จะตรวจจับคลื่นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic  energy)  ที่สะท้อนจากวัตถุบนผิวโลกหรือ
                       ตรวจจับคลื่นที่ส่งไปและสะท้อนกลับมา หลังจากนั้นมีการแปลงข้อมูล เชิงตัวเลข ซึ่งน าไปใช้แสดงเป็น

                       ภาพและท าแผนที่ การจ าแนกข้อมูลของวัตถุต้องพิจารณาความแตกต่างของการสะท้อนพลังงาน
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43