Page 29 - ศักยภาพของพื้นที่ใช้ในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยโสธร
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               22







                            2.4.22กลุ่มชุดดินที่ 55 มีเนื้อที่ 8,112 ไร่ หรือร้อยละ 0.29 ของเนื้อที่จังหวัด พบในสภาพพื้นที่
                       ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนชัน ความลาดเทอยู่ระหว่าง 1-8 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าดี
                       ปานกลางถึงดี  เนื้อดินเป็นดินเหนียว พบเศษหินผุพังหรือหินซึ่งก าลังสลายตัวที่ความลึก  50-100
                       เซนติเมตร บางบริเวณพบก้อนหินปูนปะปนอยู่กับดินชั้นล่าง ดินมีสีน้ าตาลแดงหรือสีแดง หรือสีน้ าตาล

                       แก่ ปฏิกิริยาเป็นกรดปานกลางถึงด่างเล็กน้อย ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0-7.5 ความอุดมสมบูรณ์
                       ปานกลาง
                                  กลุ่มชุดดินนี้มีความเหมาะสมในการปลูกพืชไร่  พืชผัก  ไม้ผล  และพัฒนาเป็นทุ่งหญ้า
                       เลี้ยงสัตว์ ด้วยระบบการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น ปลูกพืชไร่-ไม้ผล-ทุ่งหญ้า และเลี้ยงสัตว์ หรือพืชไร่-

                       พืชผัก-ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น-ทุ่งหญ้าและเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ปัญหาส าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่
                       การชะล้างพังทลายของดิน ขาดแคลนน้ าในการเพาะปลูก  ดินแน่นและขาดธาตุอาหารบางธาตุ  จึงต้อง
                       ด าเนินการดังนี้  คือ  มีการอนุรักษ์ดินและน้ าโดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทเกิน 5  เปอร์เซ็นต์
                       ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี  และรักษาความชื้นในดินด้วยวัสดุ

                       คลุมดินหรือปลูกพืชคลุมดิน รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ าให้เพียงพอส าหรับการปลูกพืชในระยะฝนทิ้งช่วง
                       และฤดูแล้ง
                            2.4.23กลุ่มชุดดินที่ 62 มีเนื้อที่ 9,441 ไร่ หรือร้อยละ 0.33 ของเนื้อที่จังหวัด ประกอบด้วย

                       พื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ  35  ลักษณะและสมบัติที่พบไม่แน่นอนมีทั้ง
                       ดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดิน สีดิน ความลึกของดิน ปฏิกิริยาดิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์
                       ตามธรรมชาติแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของหินที่เป็นวัตถุต้นก าเนิดในบริเวณนั้น ๆ การใช้ประโยชน์
                       ที่ดินที่เหมาะสม คือ สงวนหรือรักษาไว้เป็นป่าธรรมชาติ เพื่อเป็นพื้นที่ต้นน้ าล าธารโดยเฉพาะไม่สมควร
                       น ามาใช้ในการเกษตรอย่างเด็ดขาด เพราะจะเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมได้ง่ายและรุนแรง


                       2.5  ด้านเศรษฐกิจ
                            จากข้อมูลส านักงานสถิติแห่งชาติ (2560) และส านักงานสถิติจังหวัดพิจิตร (2560) พบว่า

                       จังหวัดพิจิตรมีพืชเศรษฐกิจและปศุสัตว์ และอุตสาหกรรม ที่ส าคัญ มีรายละเอียดดังนี้
                            2.5.1 พืชเศรษฐกิจ และปศุสัตว์ที่ส าคัญ ได้แก่
                                  1)  ข้าวนาปี จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญของจังหวัดพิจิตร มีพื้นที่เพาะปลูกข้าว
                       ทุกอ าเภอ อยู่ทั้งในเขตน้ าฝนและเขตชลประทาน โดยอ าเภอที่มีพื้นที่เพาะปลูกมาก ได้แก่ อ าเภอ

                       โพทะเล อ าเภอเมืองพิจิตร อ าเภอตะพานหิน อ าเภอโพธิ์ประทับช้าง และอ าเภอทับคล้อ พันธุ์ข้าวที่ทาง
                       ราชการส่งเสริมที่นิยมเพาะปลูก เช่น พันธุ์พิษณุโลก 2 กข41 กข47 กข49 ขาวดอกมะลิ105 และข้าวหอม
                                  2)    ข้าวนาปรัง จะท าการเพาะปลูกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายนของทุกปี พื้นที่
                       เพาะปลูกในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ าที่จะใช้ในการเพาะปลูก โดยแหล่งน้ าที่ใช้ในการเพาะปลูก

                       ได้แก่ เขตชลประทาน สูบน้ าด้วยไฟฟ้า และน้ าบาดาล อ าเภอที่มีการเพาะปลูกข้าวนาปรังมาก ได้แก่
                       อ าเภอโพทะเล อ าเภอเมืองพิจิตร อ าเภอตะพานหิน อ าเภอโพธิ์ประทับช้าง และอ าเภอบางมูลนาก
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34