Page 27 - ศักยภาพของพื้นที่ใช้ในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยโสธร
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                               20







                            2.4.18กลุ่มชุดดินที่ 47 มีเนื้อที่ 13,094 ไร่ หรือร้อยละ 0.46 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นกลุ่มชุดดิน
                       ที่เป็นดินเหนียวตื้นถึงชั้นหินพื้น เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนัก
                       ของวัสดุเนื้อละเอียด มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขา มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง
                       ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า มีเนื้อดินชั้นบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนปนดินเหนียว

                       สีน้ าตาลหรือสีน้ าตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ
                       5.5-7.0  เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวปนเศษหิน สีน้ าตาลหรือสีน้ าตาลปนแดง ปฏิกิริยา
                       ดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5-7.0 ชั้นถัดไปเป็นชั้นหินพื้น
                       ภายใน 50 เซนติเมตร จากผิวดิน

                                  กลุ่มชุดดินนี้มีปัญหาในการใช้ประโยชน์ คือ ส่วนใหญ่เป็นดินตื้นถึงตื้นมาก การชะล้าง
                       พังทลายปานกลางถึงรุนแรง ความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงลดลงรวดเร็ว และขาดแคลนน้ าในการเพาะปลูก
                       ควรใช้เพื่อพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปกับการปลูกไม้โตเร็ว หรือพัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
                       กับการปลูกพืชไร่บางชนิด โดยเฉพาะพืชไร่รากตื้น ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วต่าง ๆ ข้าวไร่ อ้อย

                       เป็นต้น หรือสงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสภาพต้นน้ าล าธาร เนื่องจากกลุ่มชุดดินนี้มีความแตกต่างกัน
                       ค่อนข้างมาก ในด้านความลึกของดินและสภาพความลาดเทของพื้นที่  จึงควรอนุรักษ์ดินและน้ าปรับปรุง
                       ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับศักยภาพของดิน

                            2.4.19กลุ่มชุดดินที่ 48 มีเนื้อที่ 4,421 ไร่ หรือร้อยละ 0.16 ของเนื้อที่จังหวัด เป็นกลุ่มชุดดิน
                       ที่เป็นดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือก้อนหิน เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนแม่น้ าหรือจากการสลายตัว
                       ผุพังอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนัก ของวัสดุเนื้อค่อนข้างหยาบหรือเนื้อละเอียด
                       มีสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขา เป็นดินตื้น มีการระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์
                       ตามธรรมชาติต่ า บางพื้นที่มีการท าคันดินกักเก็บน้ าส าหรับท านา มีเนื้อดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย

                       ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-6.0 มีเนื้อดิน
                       ชั้นล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียวปนก้อนกรวด หรือเศษหินมากภายในความลึก 50
                       เซนติเมตรจากผิวดิน สีน้ าตาลหรือสีน้ าตาลปนแดงหรือสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรด

                       ปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ  5.0-6.0  มีชั้นเศษหินหรือก้อนหินหนามากกว่า  50
                       เซนติเมตร จากผิวดิน
                                  กลุ่มชุดดินนี้มีศักยภาพค่อนข้างไม่เหมาะสมถึงไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไร่และไม้ผล
                       หรือไม้ยืนต้นเนื่องจากดินตื้นถึงตื้นมาก และไม่เหมาะในการท านาเนื่องจากดินเก็บกักน้ าไม่อยู่ การชะล้าง

                       พังทลายของหน้าดินปานกลางถึงรุนแรง ปัญหาที่ส าคัญ ได้แก่ ดินตื้น มีการชะล้างพังทลายมาก
                       ดินจึงเสื่อมโทรมเร็วและขาดแคลนแหล่งน้ าในการเพาะปลูก  การจัดการดินควรเน้นการอนุรักษ์ดิน
                       และน้ าด้วยวิธีทางพืชผสมผสานกับวิธีกล หากใช้เพื่อปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นบางชนิด ควรเตรียมหลุม
                       ปลูกให้กว้าง และผสมปุ๋ยอินทรีย์กับดินในหลุมปลูก การใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมแบบหนึ่ง คือ พัฒนา

                       เป็นทุ่งหญ้าและเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชไร่รากตื้น และไม้โตเร็วบางชนิด เช่น ยูคาลิปตัส และกระถินยักษ์
                       โดยด าเนินการในระบบเกษตรผสมผสาน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32