Page 48 - โครงการ 60 พรรษา สยามบรมราชกุมารี 60 เขตปฐพีพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยฝ่าย-ห้วยสะท้อน (ศก.7) ลุ่มน้ำสาขา แม่น้ำมูล ส่วนที่ 3 ลุ่มน้ำหลัก แม่น้ำมูล อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       33







                                     5) การปลูกหญ้าแฝก การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งการใช้
                       ระบบหญ้าแฝกจะช่วยลดต้นทุนในการปูองกันการชะล้างพังทลายของดินให้น้อยลง ขณะเดียวกัน
                       ประสิทธิภาพในการดักตะกอนดิน ปูองกันดินถล่ม น้ าท่วมฉับพลันได้ในระดับหนึ่ง และความคงทน
                       สามารถอยู่ได้นานหลายปี พร้อมเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วยตามความเหมาะสม

                                     6) การปรับปรุงดินกรด   ดินกรด หมายถึง ดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างหรือที่
                       เรียกว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ ากว่า 7.0 แต่ดินกรดที่เป็นปัญหาทางด้านเกษตร คือ ดิน
                       กรดที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ ากว่า 5.5 ความเป็นกรดของดินแต่ละช่วงจะมีผลต่อการปลดปล่อย
                       ธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์ การเกิดดินกรดมีสาเหตุหลายประการ ได้แก่ เกิดตามธรรมชาติ

                       จากวัตถุต้นก าเนิดดินที่เป็นดินกรด เกิดการชะละลายธาตุที่เป็นด่างออกไปจากดินโดยน้ าฝนหรือน้ า
                       ชลประทาน พืชดูดเอาธาตุที่เป็นด่างออกไปแล้วปลดปล่อยกรดลงไปแทนที่ การใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมี
                       ต่างๆ ที่มีสารก ามะถันเป็นองค์ประกอบ และเกิดจากฝนกรดบริเวณใกล้โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
                       ปัญหาของดินกรด คือ ขาดธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดิน เช่น ฟอสฟอรัสถูกตรึงท าให้พืชดูดไปใช้

                       ไม่ได้ และมีธาตุบางธาตุ ได้แก่ อะลูมิเนียม เหล็กและแมงกานีส ละลายออกมาจากจนเป็นพิษต่อพืชที่
                       ปลูก ซึ่งอาจะพบอาการผิดปกติของพืช เช่น รากสั้น บวม หรือปลายรากถูกท าลายจากความเป็นพิษ
                       ของอะลูมิเนียม อาการผิดปกติจากการขาดธาตุพวกฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และแคลเซียมที่

                       แสดงออกร่วมกัน คือ ใบเล็กและมีสีเขียวเข้มจนคล้ า และอาจพบอาการที่เกิดจากแมงกานีสเป็นพิษ
                       คือใบจะซีดเหลือง พืชตระกูลถั่วรากจะมีปมน้อยลง ปมที่เกิดจะเป็นสีเขียว ไม่เป็นสีชมพู มีการระบาด
                       ของเชื้อโรคทางดิน เช่น โรครากเน่า โคนเน่า และพืชแสดงอาการเหี่ยวจากการขาดน้ าได้ง่ายผิดปกติ
                       เพราะรากไม่สามารถแผ่ขยายลงไปในดินลึกๆ ได้ การจัดการดินกรดเพื่อการผลิตพืช ประกอบด้วย
                       การจัดการลดความรุนแรงของกรดในดินโดยการใส่วัสดุปูน การเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน การ

                       คัดเลือกชนิดและพันธืพืชที่มีความทนทานต่อความเป็นกรด การปรับปรุงสภาวะธาตุอาหารพืชในดิน
                       ให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ให้เพียงพอและอย่างมีประสิทธิภาพ มี
                       การจัดการผิวดินให้เหมาะสมเพื่อลดการชะล้างพังทะลายและรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดินให้นานที่สุด

                       และปรับสภาพแวดล้อมของดินรอบๆ รากพืช และความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน
                       จะเห็นได้ว่าแนวทางในการแก้ปัญหาดินกรดนั้นเป็นการผสมผสานการใช้วิธีต่าง ๆ มิใช่เพื่อแก้ไข
                       ปัญหาความเป็นกรดเท่านั้น แต่เป็นการเข้าไปแก้ไขถึงต้นตอของปัญหาดินกรด จากการชะล้าง
                       พังทะลาย ซึ่งท าให้ดินเสื่อมโทรมขาดความอุดมสมบูรณ์ เกิดความเป็นพิษของอะลูมินัม โดยควร

                       ใช้ทั้งวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าร่วมกับการใช้การจัดการพืชเข้ามาร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย
                       เพื่อให้ดินกรดกลับมามีศักยภาพในการให้ผลผลิตพืชได้สูงขึ้น และเป็นการจัดการแก้ปัญหาที่
                       ยั่งยืนตลอดไป (เจริญและคณะ, 2540)

                                     7) การปรับปรุงบ ารุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด ปุ๋ยพืชสดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ได้จากต้น
                       และใบของพืชปุ๋ยสดที่ปลูกไว้ หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อถึงระยะที่พืช เจริญเติบโตเต็มที่ คือเมื่อ
                       พืชเริ่มออกดอก จนถึงดอกบานเต็มที่ ก็ท าการตัดสับแล้วไถกลบ หรือไถกลบลงไปในดินทั้งต้นก็ได้

                       แล้วแต่ชนิด ของพืช หลังจากทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยผุพัง ก็จะให้ ธาตุอาหารพืช และเพิ่ม อินทรียวัตถุ
                       ให้แก่ดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ส าหรับพืชที่จะปลูกต่อๆ ไป  พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดที่ดีที่สุดนั้น คือ

                       พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ปอเทือง โสน ฯลฯ เพราะพืชตระกูลถั่วมี
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53