Page 54 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  47



                                             ชั้นความเหมาะสมที่ 2 : เหมาะสมปานกลาง (fair) คือ ดินที่มีสมบัติเหมาะสม
                  ปานกลาง ข้อจ�ากัดในการใช้อาจมีบ้าง ซึ่งต้องแก้ไข โดยการวางแผนและออกแบบให้เข้ากับสภาพและลักษณะ

                  ของดินอาจจะต้องมีการบ�ารุงรักษาเป็นพิเศษ แผนงานการก่อสร้างอาจจะต้องแก้ไขดัดแปลงบ้าง จากแผนเดิมที่
                  ใช้กับดินที่มีข้อจ�ากัดเพียงเล็กน้อย การก่อสร้างฐานราก หรือตอหม้อควรเสริมให้มั่นคงเป็นพิเศษ

                                             ชั้นความเหมาะสมที่ 3 : ไม่เหมาะสม (poor) คือ ดินที่มีสมบัติไม่เหมาะสมเพียง

                  อย่างเดียวหรือมากกว่าและมีข้อจ�ากัดนั้นๆ มีความยุ่งยากในการดัดแปลงแก้ไขและต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง จ�าเป็น
                  ต้องมี การปรับปรุงและฟื้นฟูดินเป็นหลัก นอกจากนั้นต้องมีการออกแบบเป็นพิเศษตลอดจนมีการบ�ารุงรักษาดิน

                  อย่างสม�่าเสมอยิ่งขึ้น

                                             ชั้นความเหมาะสมที่ 4 : ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง (very poorly) คือ ในการใช้ประโยชน์

                  ของดินทางวิศวกรรมบางอย่างจะเป็นการเพิ่มความเสียหาย ส�าหรับการใช้ประโยชน์ในกิจกรรมเฉพาะอย่าง
                  ซึ่งจะแก้ไขข้อจ�ากัดได้ยากที่สุดและเสียค่าใช้จ่ายสูง

                                    2)  ชนิดของข้อจ�ากัดในการจ�าแนกชั้นความเหมาะสมส�าหรับงานด้านปฐพีกลศาสตร์

                  ใช้อักษรย่อภาษาอังกฤษก�ากับท้ายตัวเลขชั้นความเหมาะสม เพื่อบ่งบอกถึงข้อจ�ากัดของดิน ยกเว้นชั้นความเหมาะสมที่ 1 ได้แก่

                                        a : ลักษณะของดินตามการจ�าแนกดิน (sub grade properties)
                                        d : การระบายน�้าของดิน (drainage)

                                        f  : น�้าท่วมหรือแช่ขัง (flooding hazard)

                                        h : ระดับน�้าใต้ดินในฤดูฝน (depth to seasonal water table)
                                        k : ความซึมน�้าของดิน (permeability or hydraulic conductivity)
                                        s : เนื้อดิน (texture)


                                        จากการศึกษาความเหมาะสมของดินส�าหรับงานด้านปฐพีกลศาสตร์ 5 กิจกรรม ในพื้นที่
                  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ อ�าเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา สรุปได้ ดังนี้

                  (ตารางที่ 5)

                                        (1) ความเหมาะสมของดินส�าหรับใช้เป็นเส้นทางแนวถนน

                                           เส้นทางแนวถนน หมายถึง การใช้วัสดุหน้าดินเพื่อการก่อสร้างถนน โดยจะใช้เป็นชั้น

                  ดินคันทางและชั้นรองพื้นทางเพื่อรองรับชั้นผิวถนน หน่วยแผนที่ดินที่เหมาะสมใช้เป็นเส้นแนวทางถนน ได้แก่
                  หน่วยแผนที่ดินหมายเลข 2  3  4  5  6  7  8  9  10  11 และ 12 มีเนื้อที่รวม 1,570 ไร่ หรือร้อยละ 77.34

                  ของพื้นที่โครงการศูนย์ฯ

                                        (2) ความเหมาะสมของดินส�าหรับใช้เป็นบ่อขุด

                                           บ่อขุด คือ บ่อน�้าที่ขุดขึ้นเพื่อเก็บน�้าจากน�้าฝนและน�้าที่ไหลผ่านผิวดินลงในบ่อ ความ

                  สามารถในการเก็บกักน�้าขึ้นอยู่กับ การออกแบบ ท�าเลที่ตั้ง และการก่อสร้าง หน่วยแผนที่ดินที่เหมาะสมใช้เป็น
                  บ่อขุด ได้แก่หน่วยแผนที่ดินหมายเลข 1 มีเนื้อที่ 164 ไร่ หรือร้อยละ 8.08 ของพื้นที่โครงการศูนย์ฯ
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59