Page 59 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 59

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  53



                  8. สรุปและข้อเสนอแนะ

                        ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ตั้งอยู่ที่ต�าบลเขาหินซ้อน อ�าเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

                  มีเนื้อที่ 2,030 ไร่ แบ่งพื้นที่ด�าเนินการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ มีเนื้อที่

                  1,375 ไร่ และพื้นที่โครงการส่วนพระองค์ มีเนื้อที่ 655 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ดอนมีลักษณะเป็น
                  ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนินเขาโดดที่เรียกว่า “เขาหินซ้อน” มีห้วยน�้าโจนไหลผ่านบริเวณตอนกลางของพื้นที่

                  บริเวณใกล้ๆ ล�าห้วยจะมีสภาพพื้นที่ราบเรียบขนานล�าน�้า ซึ่งเป็นที่แคบๆ ลักษณะธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก�าเนิดดิน
                  เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ของหินแกรนิต และเกิดจากการสลายตัวของหินแกรนิตเคลื่อนย้ายมาทับถม

                  ซึ่งเรียกว่าพื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน และบริเวณที่ราบลุ่มต�่าหรือบริเวณสองข้างของล�าห้วยที่เป็นแนวแคบๆ

                  เกิดจากการทับถมของตะกอนล�าน�้าเก่า

                        จากผลการศึกษาพบว่า ทรัพยากรดินสามารถจ�าแนกได้เป็น 3 ชุดดิน และ 6 ดินคล้าย ซึ่งสามารถ
                  แยกย่อยออกได้เป็น 12 ประเภท ซึ่งเป็นดินในพื้นที่ลุ่ม 1 ประเภท ดินในพื้นที่ดอนที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบ

                  4 ประเภท มีเนื้อดินร่วนละเอียด 4 ประเภท มีเนื้อดินเหนียว 1 ประภท และเนื้อดินทราย 2 ประเภท นอกจาก

                  นี้ยังมีพื้นที่ดินหินพื้นโผล่ พื้นที่เนินเขา (เขาหินซ้อน)และพื้นที่ดินถม มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบ่งออกเป็น
                  4 ประเภท ได้แก่ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ส�านักงานและสถานที่ส�าคัญ และพื้นที่น�้า ปัญหาทรัพยากรดิน

                  ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ มีดังนี้ ปัญหาดินทรายจัด แนวทางการแก้ไขต้องท�าการปรับปรุง

                  โครงสร้างดินควรใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสด ซึ่งจะท�าให้โครงสร้างของดินมีความร่วนซุย และท�าให้ดินมีความสามารถ
                  ในการเก็บความชื้นได้มากขึ้น ปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของดินต�่าทั้งในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน แนวทางการแก้ไข

                  โดยการปรับปรุงดินด้วยการไถกลบพืชปุ๋ยสดร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี พื้นที่ยกร่องปลูกไม้ผลและ

                  ไม้ยืนต้น ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี

                        ข้อเสนอแนะการพัฒนาทรัพยากรดินในพื้นที่โครงการฯ จะประสบความส�าเร็จได้ต้องมีการวิเคราะห์ถึง

                  สภาพปัญหาในพื้นที่ มีการวางแผนการด�าเนินงานอย่างเป็นระบบและด�าเนินงานร่วมกันอย่างบูรณาการระหว่าง
                  เกษตรกรและภาครัฐ โดยที่ภาครัฐให้การสนับสนุนปัจจัยด้านการผลิต เกษตรกรก็จะต้องมีการใช้ปัจจัยการผลิต

                  เหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64