Page 51 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  43



                              ในการจัดความเหมาะสมของดินส�าหรับการปลูกพืชจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้

                              1.  ดินที่มีชั้นความเหมาะสม 1-3 (Class 1-3) จัดว่าดินมีความเหมาะสมในการปลูกพืช
                              2.  ดินที่มีชั้นความเหมาะสม 4-5 (Class 4-5) จัดว่าดินไม่เหมาะสมในการปลูกพืช


                              จากข้อมูลของส�านักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา กรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าพืชเศรษฐกิจ
            ของจังหวัดฉะเชิงเทราได้แก่ มะม่วง มะพร้าว มันส�าปะหลัง ข้าว หมาก อ้อย ข้าวโพด และสับปะรด สามารถสรุป

            ความเหมาะสมของดินส�าหรับการปลูกข้าว พืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ของพื้นที่ศูนย์ศึกษาการ
            พัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ อ�าเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ดังนี้

                              -  พื้นที่เหมาะสมส�าหรับการปลูกข้าว ได้แก่หน่วยแผนที่ดินหมายเลข 1 มีเนื้อที่รวม 164 ไร่

            หรือร้อยละ 8.08 ของพื้นที่โครงการศูนย์
                              -  พื้นที่เหมาะสมส�าหรับการปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย มันส�าปะหลัง และไม้ผลได้แก่

            มะพร้าว สับปะรด มะม่วง ขนุน ส้มโอ ได้แก่หน่วยแผนที่ดินหมายเลข 2  3  4  5  6  7  8  9 และ 10 มีเนื้อที่รวม
            1,125 ไร่ หรือร้อยละ 55.40 ของพื้นที่โครงการศูนย์

                              -  พื้นที่เหมาะสมส�าหรับหญ้าเลี้ยงสัตว์และสวนป่า ได้แก่หน่วยแผนที่ดินหมายเลข 11 และ 12
            มีเนื้อที่รวม 445 ไร่ หรือร้อยละ 21.94 ของพื้นที่โครงการศูนย์

                              -  พื้นที่เหมาะสมส�าหรับสวนป่า ได้แก่หน่วยแผนที่ดินหมายเลข 13 และ 14 มีเนื้อที่รวม 108
            ไร่ หรือร้อยละ 5.31 ของพื้นที่โครงการศูนย์

                              -  พื้นที่อื่นๆ ได้แก่ ที่ดินถมและแหล่งน�้า ได้แก่หน่วยแผนที่ดินหมายเลข 15 และ 16 มีเนื้อที่
            รวม 188 ไร่ หรือร้อยละ 9.27 ของพื้นที่โครงการศูนย์

                              ส�าหรับยางพารา ถึงแม้ว่าจะมีการทดลองปลูกในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ

            แต่จากการสังเกตในช่วงเวลาออกภาคสนาม พบว่าปริมาณยางที่กรีดได้มีน้อยมากและสภาพต้นยางพารา

            ก็เสื่อมโทรมมาก ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุน สาเหตุดังกล่าวเนื่องมาจากปัจจัยที่ส�าคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต
            ของยางพารา คือ ปัจจัยทางด้านภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปลูกยางพาราทั้งทางตรง
            และทางอ้อม ปัจจัยที่จ�าเป็นต้องน�ามาใช้ในการวิเคราะห์สภาพเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

            ของยางพารา ได้แก่ ปริมาณน�้าฝนรายเดือนเฉลี่ย จ�านวนวันฝนตกรายเดือนเฉลี่ย อุณหภูมิรายเดือนเฉลี่ย

            ความชื้นสัมพัทธ์รายเดือนเฉลี่ย ปริมาณน�้าระเหยรายเดือนเฉลี่ย ความเร็วลมรายเดือนเฉลี่ย ปัจจัยดังกล่าว
            ถูกน�ามาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโต ความต้องการน�้าของยางพารา ช่วงระยะการเจริญเติบโต
            ของยางพารา และประเมินศักยภาพการผลิตภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันได้จากข้อมูลสถิติอุตุนิยมวิทยา


                              ปริมาณน�้าฝนรายปีเฉลี่ยที่เหมาะสมมากที่สุด ที่ไม่ท�าให้เกิดภาวะเครียดต่อการเจริญเติบโต
            ของยางพาราควรมีปริมาณน�้าฝนรายปีเฉลี่ยสูงกว่า 1,800 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณน�้าฝนที่ถือว่ามีขีดจ�ากัดรุนแรง

            จะมีค่าเฉลี่ยรายปีต�่ากว่า 1,250 มิลลิเมตรต่อปี แต่ต้องพิจารณาปริมาณการกระจายตัวของฝนด้วย และที่ส�าคัญ
            คือความสามารถในการอุ้มน�้าของดินมาเป็นตัวร่วมประเมินด้วย (สมเจตน์, 2540)
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56