Page 49 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  41



                        7.3 การจ�าแนกความเหมาะสมของดิน

                            7.3.1  การจ�าแนกความเหมาะสมของดินส�าหรับการปลูกพืช

                                    การจ�าแนกความเหมาะสมของดินส�าหรับพืชเศรษฐกิจ ใช้วิธีประเมินตามคู่มือการจ�าแนก

                  ความเหมาะสมของดินส�าหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย (กองส�ารวจและจ�าแนกดิน, 2543) และข้อควรระวัง
                  พิจารณาเพื่อจ�าแนกความเหมาะสมของดิน คือ สภาพภูมิอากาศและชั้นความสูงไม่ได้น�ามาเป็นข้อพิจารณาใน

                  การจ�าแนกความเหมาะสมของดินส�าหรับการปลูกพืชต่างๆ โดยตรง แต่ผู้จ�าแนกความเหมาะสมของดินควรจะ
                  น�าสภาพภูมิอากาศมาพิจารณาเป็นอันดับแรก เพื่อแนะน�าหรือเลือกชนิดพืชที่จะน�ามาปลูกว่าจะใช้ปลูกได้หรือไม่

                  โดยค�านึงถึงเขตความชื้นของดินที่ได้จากระบบการจ�าแนกดินหรือความสูงที่อยู่เหนือระดับน�้าทะเล

                                    การจ�าแนกความเหมาะสมของดินส�าหรับพืชเศรษฐกิจ (ตารางที่ 4) โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                    1) หลักเกณฑ์การจ�าแนกความเหมาะสมของดินส�าหรับพืชเศรษฐกิจ

                                        (1) ศึกษาลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดิน ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่ได้จากข้อมูล

                  การส�ารวจและจ�าแนกดินอย่างละเอียด น�ามาจัดหมวดหมู่หรือเป็นชั้นตามความรุนแรงของลักษณะดินและ
                  สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเพาะปลูกพืช หรือตามความเสี่ยงต่อความเสียหาย เมื่อน�าดินนั้นมาปลูกพืช พิจารณา

                  โดยถือหลักว่า พืชที่จะปลูกตามปกติจะต้องปลูกในฤดูฝน ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นจะประกอบด้วย
                  ชุดดินหลายชุด แต่ไม่ได้หมายความว่าชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นนั้นต้องการการจัดการที่เหมือนกัน

                  เสมอไป ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นจะมีข้อจ�ากัดปลีกย่อยลงไปอีก เรียกว่า ชั้นความเหมาะสมของดินย่อย
                  (subclass)

                                        (2) ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นยกเว้นชั้นความเหมาะสมที่ 1 จะต้องระบุลักษณะ
                  และสมบัติของดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืชที่ปลูก ลักษณะของดินที่ระบุไว้ใน

                  ชั้นความเหมาะสมของดินส�าหรับการปลูกพืชแต่ละชั้น เรียกว่า ข้อจ�ากัด (limitation) การจ�าแนกความเหมาะสม
                  ของดินแต่ละชั้นจะต้องตรวจสอบว่าดินแต่ละชุดนั้นมีลักษณะอะไรบ้างที่รุนแรงที่สุดที่จะเป็นอุปสรรคต่อการ

                  เจริญเติบโตหรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืชก็จะตกอยู่ในชั้นความเหมาะสมนั้น
                                        (3) เมื่อทราบชั้นความเหมาะสมของดินส�าหรับการปลูกพืชแล้วให้ท�าการจ�าแนกชั้นความ

                  เหมาะสมย่อยลงไป โดยจะระบุชนิดของข้อจ�ากัดที่รุนแรงที่สุดไว้ต่อท้ายชั้นความเหมาะสมของดินหลัก ชนิดของ
                  ข้อจ�ากัดหรือลักษณะของดินที่เป็นอันตรายหรือท�าความเสียหายให้แก่พืช ได้แก่

                                             t  : สภาพพื้นที่ (topography)

                                             s  : เนื้อดิน (texture) หรือชั้นขนาดอนุภาคขนาดดิน (particle size class)
                                             d : การระบายน�้าของดิน (drainage)

                                             w : น�้าแช่ขัง (water logging)
                                             n : ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (nutrient status)
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54