Page 33 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                           23




                  ได้รับความชื้นจากเมฆที่ลอยปะทะกับหน้าเขาโดยบริเวณสันเขาจะปรากฏป่าดิบเขาและป่าดิบแล้ง

                  ขณะที่ตามร่องเขาหรือหุบเขาจะเป็นป่าดิบชื้น

                            2)  กลุ่มภูเขาสูงตอนกลาง ได้แก่ กลุ่มภูเขาที่อยู่ในเขตจังหวัดจันทบุรี หย่อมเขาที่อยู่ในเขต
                  ติดต่อระหว่างจังหวัดระยอง ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว ยอดเขาที่สูงที่สุดของภาคตะวันออก

                  คือ เขาสอยดาวใต้ ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,670 เมตร ก็อยู่ในพื้นที่ภูเขาสูงเขตนี้ด้วย

                  การที่ภูเขาสูงบริเวณนี้มีระดับสูงมากมีต้าแหน่งที่ตั้งอยู่เกือบจะตรงกลางของภูมิภาค จึงท้าให้มีการ

                  ระบายน้้าออกทุกทิศทางและแนวการวางตัวของภูเขาสูงเขตนี้ยังขวางทิศทางลมประจ้า มีผลให้เกิดฝน
                  ปะทะภูเขาบริเวณหน้าเขา ดังนั้น พื้นที่หน้าเขาตั้งแต่แถบอ้าเภอแกลง จังหวัดระยอง เรื่อยไปจนตลอด

                  จังหวัดจันทบุรี และตราดเป็นเขตเพาะปลูกผลไม้หรือไม้ผลที่ส้าคัญและพื้นที่ภูเขาสูงบริเวณนี้

                  ส่วนใหญ่มีธรณีสัณฐานเป็นหินอัคนีภายในชนิดหินแกรนิต

                            3)  แนวภูเขาสูงด้านตะวันออก ได้แก่ พื้นที่ของเทือกเขาบรรทัดที่ถูกก้าหนดให้เป็นพรมแดน
                  ธรรมชาติกับกัมพูชาโดยวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ท้าให้ขวางทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จึงท้าให้มี

                  ฝนตกหนักและตกชุกในช่วงฤดูร้อนโดยเฉพาะที่อ้าเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดจะมีปริมาณฝนมาก

                  ส่งผลให้ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นและภูเขาเขตนี้มีหินฐานเป็นหินทรายของกลุ่มหินโคราช
                        2.4.2  ภูมิประเทศลาดเชิงเขาและลูกเนิน

                            มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางอยู่ระหว่าง 200-500 เมตร จ้าแนกเป็น 2 เขตย่อย ได้แก่

                            1)  ภูมิประเทศลาดเขาเตี้ยและลูกเนิน บริเวณจังหวัดชลบุรี-ระยอง สัมพันธ์กับลักษณะทาง
                  ธรณีหินอัคนีภายในชนิดหินแกรนิตและหินแปรชนิดหินไนท์เป็นพื้นที่ที่อยู่ถัดจากชายฝั่งเข้ามา

                  โดยบริเวณนี้มีการเพาะปลูกพืชไร่กันมากที่ส้าคัญคือ อ้อย มันส้าปะหลัง สับปะรดโรงงาน และยางพารา

                  เป็นต้น เนื่องจากมีปริมาณฝนไม่มากนักสอดคล้องกับความต้องการน้้าของพืชไร่
                            2)  ภูมิประเทศลูกเนินและลาดเชิงเขา บริเวณจังหวัดจันทบุรี-ตราด อยู่ถัดจากชายฝั่ง

                  เว้าแหว่งเข้ามาพื้นที่นี้สัมพันธ์กับลักษณะทางธรณีหินตะกอนเป็นพื้นที่รับลมของทิวเขาสอยดาวท้า

                  ให้มีฝนตกชุกมากกว่า 7 เดือนจึงมีการท้าสวนผลไม้ชนิดต่างๆ สลับกับสวนยางพาราจ้านวนมาก

                        2.4.3  ภูมิประเทศที่ราบดอนและราบลุ่ม
                            มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางอยู่ระหว่าง 50-200 เมตร จ้าแนกเป็น 2 เขตย่อย ได้แก่

                            1)  ที่ราบฉนวนไทย มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงดอนและที่เชิงเนินซึ่งอยู่ระหว่างเขตภูเขาสูง

                  ตอนเหนือกับภูเขาสูงตอนกลางของภูมิภาค มีผลท้าให้เขตนี้เป็นเขตอับฝนมีช่วงแล้งยาวจึงเหมาะแก่
                  การท้าปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงโคและกระบือ เป็นต้น และการเป็นพื้นที่ราบเขตติดต่อกับประเทศเพื่อน

                  บ้านจึงท้าหน้าที่เหมือนตัวต้านทานหรือกันชนหรือฉนวน จึงเรียกพื้นที่เขตนี้ว่า ที่ราบฉนวนไทย
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38