Page 32 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                           22





                  2.4  สภาพภูมิประเทศ

                        สุภาพ (2549) รายงานว่าภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคย่อยของประเทศไทยอยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทยด้าน
                  ตะวันออกและมีความส้าคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งอุตสาหกรรม การขนส่งทางทะเล ผลไม้

                  และอัญมณีของประเทศ ภาคตะวันออกประกอบด้วยพื้นที่ของ 7 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา

                  ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยลุ่มน้้าสาขาคลองพระสทึงมีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดปราจีนบุรี
                  สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และจันทบุรี ลักษณะภูมิประเทศ ประกอบไปด้วยภูเขาและภูเขาเตี้ยๆ พื้นที่ส่วนใหญ่

                  เป็นที่ราบลูกคลื่นลอนชัน ลักษณะทิวเขาวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันออกเฉียงใต้ มีทิวสูง

                  คือ ทิวเขาจันทบุรี ซึ่งเป็นทิวเขาหินแกรนิตที่มีความแข็งแกร่ง ทางตะวันออกมีทิวเขาบรรทัดเป็นยอด
                  เขากั้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ยอดเขาสูงๆ ที่ส้าคัญของทิวเขาจันทบุรี คือ เขาเขียว มีความ

                  สูงประมาณ 800 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง และเขาสอยดาว มีความสูง 1,640 เมตร เป็นต้น

                  ตอนกลางของภูมิภาคมีลักษณะเป็นที่สูงน้้าไหลตัดผ่าน ส่วนทางใต้และทางตะวันตกของภูมิภาคเป็นที่ราบ

                  จึงท้าให้แม่น้้าส่วนใหญ่ไหลลงทางใต้สู่อ่าวไทย เช่น แม่น้้าจันทบุรี แม่น้้าระยอง แม่น้้าประแสร์  ในเขต
                  จังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา มีลักษณะเป็นที่ราบซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาทางภาค

                  ตะวันออกเฉียงเหนือกับเทือกเขาของภูมิภาคนี้ ลักษณะเป็นแอ่งแผ่นดินยุบตัวลงไปเป็นที่ราบแคบๆ

                  ต่อเนื่องเข้าไปในกัมพูชาท้าให้สามารถติดต่อกับที่ราบภาคกลางได้สะดวก บริเวณนี้เรียกว่า ฉนวนไทย
                  (Thai Corridor)

                        กวี (2547) รายงานว่าภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นภูมิภาคที่มีภูมิประเทศทุกรูปแบบ

                  ตั้งแต่ภูเขาสูงจนถึงทะเลลึก มีภูมิอากาศทั้งร้อนชื้นแบบมรสุมและร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มีลักษณะ

                  ธรณีที่ปรากฏหินแกรนิตเด่น มีสายน้้าต่างๆ ที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทางและมีป่าไม้ส่วนใหญ่
                  เป็นป่าดิบแล้ง โดยมีป่าดิบชื้นบริเวณเขตฝนตกชุก รูปร่างของภาคตะวันออกมีลักษณะกะทัดรัด นั่น

                  คือ ถ้าวัดระยะจากจุดศูนย์กลางออกไปยังจุดต่างๆ ที่เป็นบริเวณชายขอบจะมีระยะทางใกล้เคียงกัน โดย

                  ในพื้นที่ลุ่มน้้าสาขาแม่น้้าคลองพระสทึง มีลักษณะภูมิประเทศที่ส้าคัญดังนี้
                        2.4.1  ภูมิประเทศภูเขา

                            มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป ในพื้นที่ลุ่มน้้าสาขาคลองพระ

                  สทึง มีภูเขาสูงอยู่ 3 บริเวณ ได้แก่
                            1)  แนวภูเขาสูงตอนเหนือ เป็นเขตติดต่อกับขอบที่ราบสูงโคราชในพื้นที่ของจังหวัด

                  ปราจีนบุรีและสระแก้ว พื้นที่ภูเขาสูงบริเวณนี้อยู่แนวของเทือกเขาสันก้าแพงที่มีทิวเขาอยู่หลายทิว

                  ในแต่ละทิวจะมียอดเขาอยู่หลายยอด ภูเขาส้าคัญ เช่น เขาเขียว เขาละมั่ง เขาบรรทัด ฯลฯ ที่ล้วนแต่เป็น
                  ภูเขาหินทราย ซึ่งจะมีลักษณะเป็นภูเขายอดราบคล้ายกับสัณฐานภูเขา ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                  พื้นที่ภูเขาบริเวณนี้เป็นเขตแล้งยาวนานแต่กลับเป็นแหล่งต้นน้้าและพื้นที่ป่าไม้ที่ส้าคัญ เนื่องจาก
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37