Page 18 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            9






                  ในการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง เนื่องมาจากสาเหตุใด

                           3. ศึกษาปัญหาการเพาะปลูกพืช

                             3.1 ด้านพันธุ์พืช
                             3.2 ชนิดและปริมาณปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช มีการใช้ถูกต้องหรือไม่

                             3.3 โรคแมลงและศัตรูพืชระบาดรุนแรงเพียงใด ระบาดช่วงไหน

                             3.4 แรงงานที่ใช้ในการผลิตมีปัญหาหรือไม่

                  ขั้นตอนที่ 6 การประเมินความเหมาะสมทางกายภาพ
                          เป็นการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมของข้อมูลทางกายภาพโดยใช้ข้อมูล หน่วย

                  ที่ดิน ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินมาประกอบเพื่อประเมินความเหมาะสมของหน่วย
                  ที่ดิน ส าหรับพืชเศรษฐกิจที่พบมากในพื้นที่ ประเมินความเหมาะสมของที่ดินด้านกายภาพ จะ

                  น าประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land utilization type, LUT) มาประเมินว่าความเหมาะสมของที่ดิน

                  ของแต่ละหน่วยที่ดิน )Land unit, LUเหมาะสมต่อประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบใดบ้าง  (
                             1.  คุณภาพที่ดิน (Land  quality,  LQ)  คือ สมบัติของหน่วยที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการ

                  เจริญเติบโตและผลผลิตของพืช คุณภาพที่ดินอาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (Land  characteristic) ตัว
                  เดียวหรือหลายตัวก็ได้ เช่น สภาวะการเขตกรรม คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ ชั้นความยากง่ายใน

                  การเขตกรรม (ดินบน) หรือ ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ ความจุ
                  ในการแลกเปลี่ยนประจุบวก และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่าง

                             1.1 การคัดเลือกคุณภาพที่ดิน ส าหรับประเทศไทย คุณภาพที่ดินที่สมควรน ามาประเมินมีดังนี้
                                1.1.1  ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability, m) คุณลักษณะที่ดินที่

                  เป็นตัวแทน คือ ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยในรอบปี (ภาพที่ 3) หรือความต้องการน้ าในช่วงการเจริญเติบโตของพืช
                                1.1.2 ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen  availability,  o)

                  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ สภาพการระบายน้ าของดิน

                                1.1.3  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability, s) คุณลักษณะที่ดิน
                  เป็นตัวแทน คือ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                1.1.4  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient  retention  capacity,  n)  คุณลักษณะ
                  ที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่าง

                                1.1.5  สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting  conditions,  r)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็น
                  ตัวแทน คือ ความลึกของดิน ชั้นการหยั่งลึกของรากพืช (Root penetration class)

                                1.1.6  สภาวะการเขตกรรม (Soil workability, k) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ

                  ชั้นความยากง่ายในการเขตกรรม (ดินบน)
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23