Page 24 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 24
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
13
2.4 ทรัพยากรดิน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 2,556.64 ตารางกิโลเมตร หรือ
1,597,900 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปีต่อข้าวนาปรัง 1,486,864 ไร่ พื้นที่ปลูกไม้ผล 22,430 ไร่
พื้นที่ปลูกพืชผัก 8,011 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ 4,375 ไร่ พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ 1,529 ไร่
พืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ ได้แก่ ข้าว มะม่วง ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ าว้า สัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ ไก่ เป็ด สุกร
โค กระบือ และสัตว์น้ าจืด ลักษณะดินแยกเป็น 6 ประเภท คือ ดินเหนียว 1,054,080 ไร่
ดินเหนียวปนดินร่วน 207,716 ไร่ ดินเหนียวปนดินทราย 47,942 ไร่ ดินร่วนปนดินทราย 12,300 ไร่
ดินทราย 8,500 ไร่ ดินร่วน 300 ไร่ นับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะดินร่วน
ปนดินทรายสีเทาอมเหลือง ที่อ าเภอบางบาล และอ าเภอบางปะหัน เหมาะในการท าอิฐมอญได้อย่างดี
นอกจากนี้ยังมีทรายมากตามบริเวณลุ่มแม่น้ า ล าคลอง ได้แก่ เขตอ าเภอบางบาล อ าเภอบางปะหัน
อ าเภอพระนครศรีอยุธยา อ าเภอบางปะอิน ส่วนใหญ่เป็นทรายที่ใช้ถมที่เพื่อการก่อสร้าง
จากการส ารวจดินของกองส ารวจและจ าแนกดิน กรมพัฒนาที่ดิน สามารถจ าแนกลักษณะดิน
ที่พบในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามลักษณะธรณีสัณฐาน และวัตถุต้นก าเนิดดิน
แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่เรียกว่าหน่วยที่ดิน มีอยู่ 15 หน่วยที่ดิน ซึ่งเป็นดินที่มีปัญหาอยู่ 7 หน่วยที่ดิน
กระจายอยู่ในอ าเภอต่าง ๆ ดังนี้
กลุ่มชุดดินที่ 1
เป็นหน่วยที่ดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวบางแห่งมีก้อนปูนปะปนอยู่ด้วย ดินบนจะมีสีด า
ดินล่างเป็นพวกสีน้ าตาลหรือเทา อาจมีจุดประพวกสีน้ าตาล และสีเหลืองปะปนอยู่บ้าง เกิดจากวัตถุ
ต้นก าเนิดดินพวกตะกอนล าน้ าบริเวณเทือกเขาหินปูน สภาพพื้นที่ที่พบจะเป็นที่ราบลุ่ม มักมีน้ าแช่ขัง
ในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึก มีการระบายน้ าเลวถึงค่อนข้างเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
ปานกลางถึงสูง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่าง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-8.0
ปัญหาหลักในการใช้ประโยชน์ที่ดินในหน่วยแผนที่ดินนี้ ได้แก่ ไถพรวนล าบากเนื่องจาก
เป็นดินเหนียวจัด และต้องเลือกช่วงระยะเวลาที่ดินท านาที่มีความชื้นที่เหมาะสม
ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท านานอกฤดู บางแห่งใช้ปลูกข้าวไร่ ฝ้ายและถั่วต่างๆ
มีในเขตอ าเภอท่าเรือ อ าเภออุทัย อ าเภอนครหลวง อ าเภอบางปะหันและอ าเภอภาชี
กลุ่มชุดดินที่ 2
เป็นหน่วยที่ดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนมีสีเทาหรือเทาแก่ ดินล่างเป็นพวกสีเทามี
จุดประพวกสีน้ าตาลและสีเหลือง หรือสีแดงอาจพบจุดประสีเหลืองของสารจาโรไซต์ ในระดับความลึก
ประมาณ 100-150 เซนติเมตร จากผิวดินถัดลงไปเป็นตะกอนน้ าทะเลมีสีเทาปนเขียว พบบริเวณที่ราบ
ลุ่ม เป็นดินลึก มีการระบายน้ าเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็น
กรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.0
ปัญหาหลักในการใช้ประโยชน์ที่ดินในหน่วยแผนที่นี้ ได้แก่ ดินมักจะมีปฏิกิริยาเป็นกรดจัด
ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อผลผลิตได้ ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ท านา มีบางแห่งยกร่องปลูกไม้ยืนต้น
และไม้ผลบางชนิด ถ้ามีการจัดการที่เหมาะสม ดินนี้จะให้ผลผลิตค่อนข้างสูงมีในเขตอ าเภอ
พระนครศรีอยุธยา อ าเภอเสนา อ าเภออุทัย อ าเภอผักไห่ อ าเภอบางบาล อ าเภอบางปะอิน อ าเภอ
ภาชี อ าเภอนครหลวง อ าเภอลาดบัวหลวง อ าเภอวังน้อย อ าเภอบางปะหัน อ าเภอบางไทร