Page 19 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
อากาศร้อนมากขึ้น แต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังไม่ร้อนมากที่สุด เพราะมีแม่น้ าล าคลองมากมาย
จึงช่วยคลายความร้อนลงได้บ้าง รวมระยะเวลาของฤดูร้อน ประมาณ 4 เดือน
ปริมาณน้ าฝน
ปี 2558 มีปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 1,251 มิลลิเมตร ปริมาณน้ าฝน
ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณฝนรวมทั้งปีต่ ากว่าค่าเฉลี่ย 1,152.7 มิลลิเมตร
อุณหภูมิ
ปี 2558 อุณหภูมิสูงสุด 39.7 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน อุณหภูมิต่ าสุด 16 องศาเซลเซียส
ในเดือนมกราคม 2558
2.3 ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึงที่เรียกว่า "ที่ราบลุ่ม
เดลต้า" ซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ าไหลพัดพาเอาเศษหินดิน ทราย และตะกอนมาทับถมกันเป็นวลานาน
จนกลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาแต่ไม่มีภูเขา ไม่มีป่าไม้
บริเวณศูนย์กลางของจังหวัด เรียกกันมาแต่เดิมตามลักษณะที่มีสายน้ าล้อมรอบว่า "เกาะเมือง" คู่กับ
เกาะที่อยู่ตรงข้ามทางด้านเหนือซึ่งเรียกว่า "เกาะลอย" ด้วยเหตุที่มีแม่น้ าสายต่างๆ ไหลผ่าน ได้แก่
1. แม่น้ าเจ้าพระยา เป็นแม่น้ าที่มีความส าคัญที่สุดของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในด้านการ
เกษตรกรรม และการคมนาคมและขนส่ง แม่น้ าเจ้าพระยาเริ่มตั้งแต่แม่น้ าน่านและแม่น้ าปิงไหลมา
บรรจบกันที่ปากน้ าโพ จังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลลงมาทางใต้ผ่านจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดอ่างทอง เข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่าน อ าเภอบางบาล
อ าเภอพระนครศรีอยุธยา อ าเภอบางปะอินและอ าเภอบางไทร แล้วเข้าสู่จังหวัดปทุมธานี จังหวัด
นนทบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ รวมความยาวของแม่น้ านี้ไหลผ่าน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ 55 กิโลเมตร และแม่น้ านี้มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 360
กิโลเมตร
2. แม่น้ าป่าสัก ต้นน้ าเกิดจากทิวเขาเพชรบูรณ์ ในเขตจังหวัดเลย แล้วไหลลงมาทางใต้ผ่าน
จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี เข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่อ าเภอท่าเรือ
อ าเภอนครหลวง แล้วไหลรวมกับแม่น้ าเจ้าพระยา ฝั่งซ้ายในเขตอ าเภอพระนครศรีอยุธยา ที่หน้าวัด
พนัญเชิง รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประมาณ 52 กิโลเมตร และแม่น้ านี้
มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 500 กิโลเมตร
3. แม่น้ าลพบุรี เป็นแม่น้ าที่แยกจากแม่น้ าเจ้าพระยาฝั่งซ้าย ที่อ าเภอเมืองสิงห์บุรี ไหลผ่าน
จังหวัดลพบุรี เข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่อ าเภอบ้านแพรก อ าเภอมหาราช อ าเภอบางปะหัน
และอ าเภอพระนครศรีอยุธยา แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ าป่าสักที่หนัาวัดตองปุ ในเขตอ าเภอ
พระนครศรีอยุธยา รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ 62.5 กิโลเมตร
และแม่น้ านี้มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 85 กิโลเมตร
4. แม่น้ าน้อย แยกจากแม่น้ าเจ้าพระยาฝั่งขวาที่อ าเภอเมืองชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท
จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง เข้าเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่อ าเภอผักไห่ อ าเภอเสนาแล้วไป
บรรจบกับคลองบางบาล ซึ่งเป็นแม่น้ าเจ้าพระยาเดิมที่บ้านสีกุก แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ าเจ้าพระยา