Page 18 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         8







                                                             บทที่ 2
                                            ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


                       2.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
                               จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในภาคกลางตอนล่าง อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา
                       6 ลิปดาเหนือ 33 ฟิลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 14 ลิปดา 53 ฟิลิปดาตะวันออก อยู่สูงจาก

                       ระดับ น้ าทะเลประมาณ 3.50 เมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือตามถนนสายเอเชีย
                       ประมาณ 75 กิโลเมตร ตามทางรถไฟ ประมาณ 72 กิโลเมตร และทางเรือประมาณ 137 กิโลเมตร
                       มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 2,556.64 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,597,900 ไร่ นับว่าเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่
                       เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 11 ของจังหวัดภาคกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                       มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
                               ทิศเหนือ     ติดต่อกับ จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดลพบุรี
                               ทิศใต้       ติดต่อกับ จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี

                               ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ จังหวัดสระบุรี
                               ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ จังหวัดสุพรรณบุรี

                       2.2 สภาพภูมิอากาศ
                              ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย คือ รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว และ

                       รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากอ่าวไทยโดยตรง ท าให้มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน มีอุณหภูมิ
                       สูงสุดเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ าสุดเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยทั้งจังหวัด
                       ประมาณ 1,342.7 มิลลิเมตร มีฤดูกาล แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้

                                1. ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม หรือต้นเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคม ตั้งแต่
                       เดือนพฤษภาคม หรือต้นเดือนมิถุนายน ฝนเริ่มตกและจะตกถี่ขึ้นในเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน
                       ซึ่งเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด ฝนที่
                       ตกในระยะนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นอิทธิพลของพายุ

                       ดีเปรสชั่นจากทะเลจีนใต้ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมฝนจะเริ่มน้อยลง รวมระยะเวลาของฤดูฝนระมาณ
                       5 เดือน
                                2. ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมกราคม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เป็น
                       ระยะเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว คือลมมรสุมเฉียงใต้เริ่มอ่อนลงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

                       เข้ามาแทนที่ จึงนับว่าย่างเข้าสู่ฤดูหนาว อุณหภูมิจะไม่ลดต่ ามากนักเพราะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                       อยู่ปลายลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และอยู่ใกล้อ่าวไทยไออุ่นจากทะเลท าให้หนาวน้อยลง รวม
                       ระยะเวลาของฤดูหนาวประมาณ 3 เดือน
                                3. ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ อิทธิพล

                       ของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มอ่อนลง ท าให้อากาศเริ่มร้อนและจะร้อนอบอ้าวที่สุดในเดือน
                       เมษายน สาเหตุเพราะการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์และการถูกปกคลุมด้วยความกดอากาศสูงจากทะเล
                       จีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเป็นต้นก าเนิดของกระแสลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดเข้าสู่อ่าวไทยท าให้
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23