Page 16 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
6
ด าเนินงานจัดท าศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ต าบลบ้านกลึง ครอบคลุมพื้นที่ 40 ไร่
ในแปลง ของหมอดินอาสาประจ าต าบลบ้านกลึง อ าเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เจ้าของ
แปลง นายสมเวียง สุขสมพืช สถานที่ บ้านเลขที่ 28 หมู่ที่ 8 บ้านศรีโพธิ์ทอง ต าบลบ้านกลึง อ าเภอ
บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยน ากิจกรรมต่าง ๆ เข้าไปด าเนินงานศูนย์เรียนรู้การพัฒนา
ที่ดินฯ เน้นแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค านึงถึงการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมในพื้นที่ รวมทั้ง
ส่งเสริมการใช้น้ าหมักชีวภาพ เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ด าเนินการตั้งจุดเรียนรู้การ
พัฒนาที่ดิน ตามกิจกรรมที่มีภายในศูนย์เรียนรู้ฯ ทั้งสิ้น 5 จุด คือ
1. จุดเรียนรู้การไถกลบตอซัง
2. จุดเรียนรู้การผลิตน้ าหนักชีวภาพ
3. จุดเรียนรู้การปรับปรุงบ ารุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด
4. จุดเรียนรู้การอนุรักษ์ดินและน้ าด้วยหญ้าแฝก
5. จุดเรียนรู้การปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
ในที่นี้ขอน าเสนอจุดเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องคือจุดเรียนรู้การไถกลบตอซังและจุดเรียนรู้
การผลิตน้ าหมักชีวภาพ
1.4 ขั้นตอนและวิธีด าเนินงาน
1.4.1 คัดเลือกพื้นที่หมอดินอาสา โดยพิจาณาจากพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชุมชน การคมนาคมสะดวก
เจ้าของแปลงมีความพร้อมและพื้นที่เป็นตัวแทนของปัญหาส่วนใหญ่ จากการพิจารณาจ านวน 23
ต าบลในอ าเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้คัดเลือกพื้นที่บ้านศรีโพธิ์ทอง หมู่ที่ 8 ต าบล
บ้านกลึง อ าเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขนาดพื้นที่ 40 ไร่ ซึ่งเป็นหมอดินอาสาประจ า
ต าบล ที่มีศักยภาพในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และพื้นที่มีศักยภาพเป็นแปลงสาธิตด้านการพัฒนา
ที่ดิน โดยรวบรวมรูปแบบการพัฒนาที่ดินด้านต่าง ๆ มาไว้ในจุดเดียวเพื่อเป็นแปลงตัวอย่างในการ
เรียนรู้ให้เกษตรกรที่สนใจ
1.4.2 วิเคราะห์ปัญหาในพื้นที่ที่ด าเนินการโดยการตรวจสอบในพื้นที่ตามโปรแกรมดินไทยและ
ธาตุอาหารพืช พบว่าเป็นชุดดินเสนา กลุ่มชุดดินที่ 11 เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนมีสีด าหรือเทาแก่
ดินล่างมีสีเทาและมีจุดประสีน้ าตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปนอยู่เป็นจ านวนมากในช่วงดินล่างตอนบน
และพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซต์ ในระดับความลึก 50-100 เซนติเมตร จากผิวดิน
พบบริเวณที่ราบตามชายฝั่งทะเลหรือที่ราบลุ่มภาคกลาง น้ าแช่ขังลึก 50-100 เซนติเมตร นาน 3-5
เดือน บางพื้นที่จะขังน้ านาน 6-7 เดือน เป็นดินลึก มีการระบายน้ าเลว มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ า
ดินมีปฏิกิริยาเป็นกรดจัดมาก ถึงเป็นกรดจัด pH 4.5-5.0 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้ท านา บางแห่ง
ยกร่องปลูกพืชผัก หากมีการจัดการดินที่ถูกต้องเหมาะสมโดยได้รับการปรับปรุงบ ารุงดินใช้ปุ๋ยและปูน
ในอัตราที่เหมาะสม และมีการควบคุมน้ า หรือจัดระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ พืชที่ปลูกจะให้
ผลผลิตดีขึ้น
1.4.3 จัดท าศูนย์เรียนรู้ ดังนี้
(1) จุดเรียนรู้การไถกลบตอซังเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในนาข้าวหลังเก็บเกี่ยว
ข้าว โดยมีวิธีด าเนินการคือ ผสมน้ าหมักชีวภาพ จ านวน 5 ลิตรต่อไร่ กับน้ า 100 ลิตรเทสารละลายน้ า