Page 22 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         11


                  2. สภาพปัญหาของทรัพยากรดินที่ใช้ทําการเกษตรของประเทศไทย


                        จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า ทรัพยากรที่ดินของประเทศไทยมีทั้งหมด 62 กลุ่มดิน  มีการกระจายไป

                  ตามภาคต่าง ๆ (ภาพที่ 1.1 )  ดินส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นดินที่มีพัฒนาการค่อนข้างสูง  ส่งผลให้ดิน
                  มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่่า  ทรัพยากรดินของภาคเหนือ  เป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรอยู่ใน

                  ระดับปานกลางถึงสูง  แต่มีข้อจ่ากัดของพื้นที่ของภาคที่เป็นเทือกเขาและมีความลาดชันสูงมากเป็นส่วนใหญ่

                  ดินปัญหาที่พบประกอบด้วย ดินทรายและดินตื้นทรัพยากรดินภาคกลาง  เป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตร
                  ปานกลางถึงสูง  ดินส่วนใหญ่มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง  เนื่องจากในช่วงฤดูน้่าหลากได้พาตะกอน

                  มาทับถมทุกปี  ดินปัญหาที่พบประกอบด้วย ดินเปรี้ยวจัด  ดินเค็มชายทะเล  ดินเค็มบก  ดินทราย และดินตื้น
                  ทรัพยากรดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส่วนใหญ่มีศักยภาพทางการเกษตรต่่า  เนื่องจากดินมีข้อจ่ากัดใน

                  เรื่องเนื้อดิน เช่น มีเนื้อดินออกทรายจัดหรือดินร่วนหยาบท่าให้มีความจุในการอุ้มน้่าต่่า  ดินตื้นหรือดินมีก้อน

                  กรวดลูกรังปะปนหนาแน่นในระดับตื้นถึงตื้นมาก  ดินเค็มและพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากความ
                  เค็มของดินและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่่าถึงต่่ามาก  ดินปัญหาที่พบประกอบด้วย ดินเค็มบก  ดินทราย และดิน

                  ตื้น  ทรัพยากรดินภาคตะวันออก  เป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรต่่าถึงปานกลางคล้ายคลึงกับทรัพยากร
                  ดินภาคใต้ดินปัญหาที่พบประกอบด้วย ดินเปรี้ยวจัด  ดินเค็มชายทะเล  ดินทรายและดินตื้น  ทรัพยากรดิน

                  ภาคใต้  เนื่องจากมีฝนตกชุกและต่อเนื่องนาน  ในรอบปีมีการชะล้าง น่าพาหรือชะละลายธาตุอาหารออกไป

                  จากดินสูงและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่่า  แต่เนื่องจากดินมีความชื้นค่อนข้างสม่่าเสมอ  ท่าให้เหมาะสมในการ
                  ปลูกพืชประเภทไม้ผลและไม้ยืนต้น  จึงท่าให้มีปัญหาทางการเกษตรน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ ดินปัญหาที่พบ

                  ประกอบด้วย ดินเปรี้ยวจัด  ดินอินทรีย์  ดินเค็มชายทะเล  ดินทรายและดินตื้น  การใช้ที่ดินของประเทศไทย
                  พ.ศ. 2553 – 2556 พบว่า มีพื้นที่เกษตรกรรม 174.30 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 54.35 ของประเทศ  โดย

                  แบ่งเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือมีพื้นที่เกษตรกรรม 41.57 ล้านไร่  ภาคกลางมีพื้นที่เกษตรกรรม 21.32

                  ล้านไร่  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เกษตรกรรม 71.26 ล้านไร่  ภาคตะวันออกมีพื้นที่เกษตรกรรม
                  13.48 ล้านไร่ และภาคใต้มีพื้นที่เกษตรกรรม 26.25 ล้านไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558ข)

                        ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศเกิดความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วและกว้าง  เนื่องมาจากสาเหตุ
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างต่อเนื่อง  แต่การปรับปรุงบ่ารุงดินและการอนุรักษ์ดินและน้่าที่

                  เหมาะสมยังด่าเนินการได้ไม่ทั่วถึง  เป็นเหตุให้ทรัพยากรดินเหล่านั้นเสื่อมทั้งคุณภาพและความเหมาะสมใน

                  การปลูกพืช  และการเพิ่มประชากรในแต่ละปียังส่งผลให้มีความต้องการที่ดินเพื่อการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นตาม
                  ด้วย  โดยมีการน่าพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรมาใช้ท่าการเกษตร เช่น ดินตื้น  ดินทราย  ไม่ถูกต้องตาม

                  หลักวิชาการ  และการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ต้นน้่าล่าธาร  ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรง
                  ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินน้อยลงและท่าให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินลดลงอยู่ในระดับต่่าถึงต่่ามาก

                  สาเหตุของการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินต่อพื้นที่เกษตรกรรม  จนท่าให้พืชที่ปลูกไม่สามารถเจริญเติบโตได้

                  ดีและให้ผลผลิตในปริมาณต่่า  มาจากปัญหาหลัก 3 ประการ คือ
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27