Page 17 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          6


                         1.5 ทรัพยากรดินภาคใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร  สุราษฎร์ธานี  ระนอง

                  พังงา  กระบี่  ภูเก็ต  นครศรีธรรมราช  ตรัง  พัทลุง  สตูล  สงขลา  ปัตตานี  ยะลา และนราธิวาส  มีพื้นที่
                  ลาดลงสู่ทะเลทั้ง 2 ด้าน  เนื่องจากมีฝนตกชุกและต่อเนื่องนาน ในรอบปีมีการชะล้าง  น่าพาหรือชะละลาย

                  ธาตุอาหารออกไปจากดินสูงและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่่า  แต่เนื่องจากดินมีความชื้นค่อนข้างสม่่าเสมอท่า
                  ให้เหมาะสมในการปลูกพืชประเภทไม้ผลและไม้ยืนต้น  จึงท่าให้มีปัญหาทางการเกษตรน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ

                  ดินปัญหาที่พบประกอบด้วย ดินเปรี้ยวจัด  ดินอินทรีย์  ดินเค็มชายทะเล  ดินทราย และดินตื้น  มีพื้นที่
                  44.19 ล้านไร่  โดยมีพื้นที่เกษตรกรรม 26.25 ล้านไร่ เป็นพื้นที่การท่านา 2.16 ล้านไร่  พืชไร่ 0.02 ล้านไร่

                  ไม้ยืนต้น 20.99 ล้านไร่  ไม้ผล 2.51 ล้านไร่  สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้่า 0.53 ล้านไร่ และอื่นๆ 0.04 ล้านไร่
                  แบ่งตามสภาพพื้นที่ได้ 5 สภาพ ดังนี้

                             1) สภาพพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ 6.45 ล้านไร่  ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่เป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่าง
                  ปานกลาง  หากบริเวณใดมีอิทธิพลของดินเปรี้ยวจัดเข้ามาเกี่ยวข้อง  ปฏิกิริยาดินจะเป็นกรดรุนแรงมากถึง

                  เป็นกรดจัดมาก  มีความอุดมสมบูรณ์ต่่าถึงปานกลาง  จ่าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 7 กลุ่ม ดังนี้
                  กลุ่มที่ 1 เนื้อดินที่เป็นดินเลนเละ มีพื้นที่ 0.99 ล้าน  เป็นดินเปรี้ยวจัดเพราะได้รับอิทธิพลจากน้่าทะเลขึ้นลง

                  เป็นประจ่า ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่  13    กลุ่มที่ 2 เนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีพื้นที่ 4.18 ล้านไร่  บริเวณที่ได้รับ
                  อิทธิพลของตะกอนทะเลเป็นดินเปรี้ยวจัด ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 2, 3, 5, 6, 7, 10, 11 และ 14  กลุ่มที่ 3 เนื้อ

                  ดินที่เป็นดินร่วน มีพื้นที่ 0.77 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 16, 17, 18, 22 และ 59  กลุ่มที่ 5 เนื้อดินที่เป็นดิน
                  ทราย มีพื้นที่ 0.09 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 23  กลุ่มที่ 5 ชุดดินที่ยกร่อง มีพื้นที่ 0.05 ล้านไร่  ส่วนใหญ่ทั้ง

                  ดินบนและดินล่างเป็นดินเหนียว ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 8  กลุ่มที่ 6 เนื้อดินที่เป็นดินตื้น มีพื้นที่ 0.05 ล้านไร่ ได้แก่
                  กลุ่มชุดดินที่ 25  และกลุ่มที่ 7 เนื้อดินที่เป็นดินอินทรีย์  มีการสะสมวัสดุอินทรีย์ที่มีสะลายตัวน้อยถึงปานกลาง

                  เป็นชั้นหนา  บางบริเวณในชั้นดินล่างมีตะกอนทะเลที่มีศักยภาพในการเป็นดินเปรี้ยวจัด มีพื้นที่ 0.34 ล้านไร่
                  ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 57 และ 58

                             2) สภาพพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น มีพื้นที่ 19.59 ล้านไร่  ปฏิกิริยาดินมีตั้งแต่เป็นกรดจัดถึง
                  เป็นกรดเล็กน้อย  ความอุดมสมบูรณ์ต่่าจ่าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มที่ 1 เนื้อดินที่

                  เป็นดินเหนียว มีพื้นที่ 3.83 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 26  และ 53    กลุ่มที่ 2 เนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีพื้นที่
                  12.60 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 32,  34,  39,  50  และ 60   กลุ่มที่ 3 เนื้อดินที่เป็นดินทราย มีพื้นที่ 0.86

                  ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 42 และ 43  และกลุ่มที่ 4 เนื้อดินที่เป็นดินตื้น มีพื้นที่ 2.26 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุด
                  ดินที่ 45, 51 และ 52

                             3) สภาพพื้นที่ภูเขาสูง มีพื้นที่ 15.13 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62
                             4) พื้นที่เบ็ดเตล็ด มีพื้นที่ 1.72 ล้านไร่

                             5) พื้นที่น้่า มีพื้นที่ 1.28 ล้านไร่
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22