Page 12 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           1


                                                            บทนํา


                         ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากการเกษตร  แต่ผลผลิตเฉลี่ย

                  ต่อไร่ของการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ยังอยู่ระดับต่่า  ทั้งนี้เนื่องมาจากพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศเกิดความ
                  เสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง  สาเหตุมาจากมนุษย์น่าเอาทรัพยากรที่ดินมาใช้ประโยชน์โดยขาด
                  จิตส่านึก ความรู้และการจัดการที่ถูกต้อง  ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและดินเสื่อมความอุดม

                  สมบูรณ์  จากรายงานของนายยุทธศาสตร์ (2557) พบว่า พื้นที่ประเทศไทยมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่่ากว่า
                  1.5 เปอร์เซ็นต์ จ่านวน 97.58 ล้านไร่  โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่มากที่สุด คือ 56.58 ล้านไร่  ซึ่ง

                  สอดคล้องกับข้อมูลการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ดินทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2547 – 2552 ของกรมพัฒนาที่ดิน
                  เพื่อหาปริมาณอินทรียวัตถุในดินจ่านวน 76,146 จุด  แสดงให้เห็นว่าปริมาณอินทรียวัตถุในดินของประเทศ
                  ไทยจัดอยู่ในระดับต่่า(น้อยกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์) จนถึงปานกลาง (1.5 – 3.5 เปอร์เซ็นต์) คิดเป็นร้อยละ

                  62.33 และ 33.02 ของจ่านวนข้อมูลทั้งหมด  โดยดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ พบมี
                  การกระจายสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 61.91 ของข้อมูลทั้งหมด (กรมพัฒนาที่ดิน,

                  2558ข)  สาเหตุที่ท่าให้พื้นที่ประเทศไทยมีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่่าเกิดมาจากหลายประการ คือ ประเทศ
                  ไทยอยู่ในเขตร้อนและมรสุม  อากาศร้อนและมีฝนตกชุกเป็นสภาพที่เหมาะสมกับการท่างานของเชื้อจุลินทรีย์
                  ในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ  มีผลท่าให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินลดลงอย่างรวดเร็ว  การตัดไม้ท่าลายป่า

                  เพื่อน่าพื้นที่ดินมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมีผลท่าให้ปริมาณอินทรียวัตถุในผิวหน้าดินลดลงอย่างรวดเร็ว
                  นอกจากนี้การท่าการเกษตรกรรมที่ขาดการปรับปรุงบ่ารุงดินและอนุรักษ์ดินและน้่า  เป็นสาเหตุที่ส่าคัญอีก
                  ปัจจัยหนึ่งที่ท่าให้หน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุถูกน้่าชะล้างลงสู่แม่น้่าล่าคลอง

                  รวมทั้งเกษตรกรใช้พื้นที่การเพาะปลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน  โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน  การไถ
                  พรวนและการเตรียมดินแต่ละครั้งก็เป็นการเร่งให้อินทรียวัตถุสลายตัวเร็วขึ้น  นอกจากนี้ทรัพยากรดินของ
                  ประเทศไทยมีลักษณะและสมบัติดินที่มีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยการก่าเนิด

                  ดิน เช่น สภาพของดินที่เกิดขึ้นมาจากหินทราย  ซึ่งมีลักษณะที่ขาดความอุดมสมบูรณ์โดยตามธรรมชาติ  เมื่อ
                  สลายตัวเป็นดินทรายก็ไม่เหมาะสมต่อการท่าเกษตรกรรมเท่าที่ควร  เพราะมีปริมาณอินทรียวัตถุต่่า  การอุ้ม

                  น้่าของดินน้อยส่งผลต่อระดับความชื้นของดิน  เมื่อมีการใส่ปุ๋ยเคมีลงในดินทรายก็มีโอกาสการสูญเสียจากดิน
                  ได้รวดเร็ว  และมีธาตุอาหารของพืชต่่า  ส่วนดินเหนียวที่ขาดอินทรียวัตถุ  ดินจะแน่นทึบท่าให้น้่าไม่สามารถ
                  ผ่านช่องน้่าของเม็ดดินได้  เป็นเหตุให้น้่าไหลผ่านหน้าดินไปอย่างรวดเร็วและจะพาเอาแร่ธาตุอาหารพืชและ

                  ปุ๋ยที่มีอยู่บริเวณผิวหน้าดินสูญหายไปกับน้่าด้วย  นอกจากนี้ปริมาณอากาศในดินมีน้อยส่งผลให้รากพืชไม่
                  สามารถชอนไชหาอาหารบริเวณไกลได้  ในที่สุดมีผลต่อผลผลิตทางการเกษตร

                         จึงเป็นน่าวิตกอย่างยิ่งว่าในอนาคต  การปลูกพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตเท่าเดิมหรือมากขึ้นในประเทศไทย
                  จะไม่ประสบความส่าเร็จ  หากไม่มีการปรับปรุงบ่ารุงดินและแก้ไขให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น  ดังนั้น
                  การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุลงในดินเป็นมาตรการหนึ่งที่น่าสนใจ  ซึ่งเกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ง่าย

                  โดยเฉพาะดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่่าและดินที่เกิดจากความเสื่อมภาพความอุดมสมบูรณ์  เพื่อ
                  ช่วยท่าให้ทรัพยากรดินกลับมามีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นและให้เหมาะสมส่าหรับการปลูกพืชในการ

                  เจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างเหมะสม
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17