Page 13 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          2


                                                           บทที่ 1

                               สภาพปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินต่อพื้นที่เกษตรกรรม


                  1. ทรัพยากรดินของประเทศไทย

                         ทรัพยากรดิน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ส่าคัญในการด่ารงชีพของมนุษย์ประเทศไทยเป็นประเทศ

                  เกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินเป็นปัจจัยหลักดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ประโยชน์ที่ดินได้แก่การน่าพื้นที่ที่ไม่
                  เหมาะสมต่อการเกษตรมาใช้ในการเกษตรและการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการเป็นต้น

                  ท่าให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของดินซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเกษตรกรชุมชนและ
                  ประเทศชาติ  (กรมพัฒนาที่ดิน,  2556ก)  จากปัจจัยการควบคุมการเกิดและพัฒนาการของดิน  ซึ่ง

                  ประกอบด้วย สภาพภูมิอากาศ (climate) ความต่างระดับของพื้นที่หรือสภาพภูมิประเทศ  (relief  หรือ
                  topography)  วัตถุต้นก่าเนิดดิน (parent  material)  ปัจจัยทางชีวภาพ (organisms) และระยะเวลาที่

                  ต่อเนื่องในการเกิดดิน (time)  ท่าให้ทรัพยากรดินของประเทศมีลักษณะและสมบัติดินเฉพาะตัวแตกต่างกัน

                  ไป ดินส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นดินที่มีพัฒนาการค่อนข้างสูง  ซึ่งจะส่งผลให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์
                  ตามธรรมชาติต่่า กรมพัฒนาที่ดิน (2558ข) ได้จัดข้อมูลทรัพยากรดินในแต่ละภูมิภาคตามกลุ่มชุดดิน (ตารางที่

                  1.1) และกลุ่มเนื้อดินได้จากการรวมกลุ่มชุดดินที่มีลักษณะเนื้อดินกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรไม่

                  แตกต่างกันมากนักมาอยู่ในกลุ่มเนื้อดินเดียวกัน (ตารางที่ 1.2)  สามารถสรุปเป็นรายภาค ได้ดังนี้

                         1.1 ทรัพยากรดินของภาคเหนือ ประกอบด้วยพื้นที่ 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี  นครสวรรค์

                  ก่าแพงเพชร  สุโขทัย  ตาก  พิจิตร  พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  อุตรดิตถ์  แพร่  น่าน  พะเยา  เชียงราย  ล่าปาง
                  ล่าพูน  เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน  เป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง  แต่มี

                  ข้อจ่ากัดของพื้นที่ของภาคที่เป็นเทือกเขาและมีความลาดชันสูงมากเป็นส่วนใหญ่ ดินปัญหาที่พบ
                  ประกอบด้วยดินทรายและดินตื้นมีพื้นที่รวมประมาณ 106.03 ล้านไร่  โดยมีพื้นที่เกษตรกรรม 41.57 ล้านไร่

                  เป็นพื้นที่การท่านา 17.17 ล้านไร่  พืชไร่ 13.33 ล้านไร่  ไม้ยืนต้น 2.99 ล้านไร่  ไม้ผล 3.50 ล้านไร่  พืชไร่
                  หมุนเวียน 4.04 ล้านไร่  สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้่า 0.08 ล้านไร่ และอื่นๆ 0.46 ล้านไร่  แบ่งตามสภาพพื้นที่

                  ได้ 5 สภาพ ดังนี้

                             1) สภาพพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ 16.95 ล้านไร่  ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่เป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่าง
                  ปานกลาง  ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง  จ่าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1

                  เนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีพื้นที่ 10.58 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1, 4, 5, 6 และ 7  กลุ่มที่ 2 เนื้อดินที่เป็น
                  ดินร่วน มีพื้นที่ 6.32 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 15, 16, 17, 18, 21, 22 และ 59  และกลุ่มที่ 3 เนื้อดินที่

                  เป็นดินตื้น มีพื้นที่ 0.05 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 25

                             2) สภาพพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง มีพื้นที่ 30.82 ล้านไร่  ปฏิกิริยาดินมีตั้งแต่เป็นกรดจัด
                  จนถึงเป็นด่างปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่่าถึงสูง  จ่าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้างๆ ได้ 4 กลุ่ม

                  ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีพื้นที่ 7.80 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28, 29, 30, 31, 54 และ 55
                  กลุ่มที่ 2 เนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีพื้นที่ 11.06 ล้านไร่ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 33, 35, 36, 37, 38, 40, 56 และ 60
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18