Page 43 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาปีของศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 43
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
29
อาหารที่จ าเป็นแต่ละชนิดในแต่ละช่วงเวลาของการเจริญเติบโตของพืชต่างกัน ดังนั้นการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
คุณภาพสูงควรค านึงถึงความต้องการปริมาณและชนิดของธาตุอาหารในแต่ละช่วงเวลาของการ
เจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดด้วย การพัฒนาส่วนผสมของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อให้การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ได้ตรงตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตนั้นจึงได้มีสูตรปุ๋ยที่มีเฉพาะไนโตรเจนใน
ปริมาณที่สูง และสูตรปุ๋ยที่มีเฉพาะฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง ซึ่งจะเหมือนกับเป็นแม่ปุ๋ยอินทรีย์ไนโตรเจน
หรือแม่ปุ๋ยอินทรีย์ฟอสฟอรัสก็ได้ โดยเมื่อน ามาใช้ก็จะใช้ปริมาณของปุ๋ยแต่ละสูตรตามต้องการปริมาณ
ธาตุอาหารที่จ าเป็นแต่ละชนิดในแต่ช่วงเวลาของการเจริญเติบโตของพืชและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่ง
จะท าให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต
3.2.1 ปัจจัยที่ส าคัญในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ให้มีปริมาณธาตุอาหารหลักที่สูงขึ้นจากปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป หรือ
เรียกว่าปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงนั้น ปัจจัยส าคัญประการหนึ่ง คือ วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตโดย
วัตถุดิบแต่ละชนิดมีปริมาณธาตุอาหารที่แตกต่างกัน วัตถุดิบที่มีปริมาณธาตุอาหารหลักค่อนข้างสูงนั้นจะ
พบในเศษพืชตระกูลถั่ว ร าของพืชต่างๆ มูลสัตว์ กระดูกป่น เศษปลา และหินแร่ ยังประกอบด้วยธาตุ
อาหารรอง โดยเฉพาะแคลเซียมซึ่งจะท าให้ต้นพืชแข็งแรงต้านทานต่อการเข้าท าลายของโรคพืชนอกจาก
การใช้วัตถุดิบที่มีธาตุอาหารสูงแล้วได้น าจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการแปรสภาพแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่
เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้คัดเลือกและผลิตผลิตภัณฑ์สารเร่งมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ย
อินทรีย์คุณภาพสูง ได้แก่ สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเซลลูโลส
ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของพืช สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายโปรตีน ไขมัน และ
ละลายฟอสเฟตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายองค์ประกอบของอินทรีย์ ไนโตรเจน และไขมัน ลด
การสูญเสียไนโตรเจนระหว่างกระบวนการหมัก และลดกลิ่นแอมโมเนีย การน าจุลินทรีย์ที่ละลายอนินทรีย์
ฟอสฟอรัส คือ สารเร่งซุปเปอร์ พด. 9 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปลดปล่อยฟอสฟอรัสของวัตถุดิบที่
ใช้เป็นแหล่งฟอสฟอรัส เช่น หินฟอสเฟต และกระดูกป่น เป็นต้น โดยปัจจัยที่ส าคัญได้แก่ (กรมพัฒนา
ที่ดิน, 2553ข)
1) วัตถุดิบ ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงขึ้นกับแหล่งของวัตถุดิบในแต่
ละพื้นที่ วัตถุดิบที่มีไนโตรเจนสูง ได้แก่ กากเมล็ดถั่วเหลือง ปลาป่น และเลือดแห้งฟอสฟอรัสสูง ได้แก่
กระดูกป่น มูลค้างคาว หินฟอสเฟต และชนิดที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ ขี้เถ้าไม้ยาง และเปลือกเมล็ด
กาแฟ ดังตารางที่ 3.2