Page 42 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาปีของศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           28







                                     แนวทางการจัดการดินส าหรับท านา กลุ่มชุดดินที่ 17 มีศักยภาพเหมาะสมส าหรับท านา
                       ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากอยู่ในที่ราบต่ า มีอินทรียวัตถุต่ า ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ า โพแทสเซียมที่
                       แลกเปลี่ยนได้ต่ า เพื่อให้ข้าวได้รับธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมอย่างเพียงพอ จึงควรใช้
                       ปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสม ซึ่งมีอยู่ 2 แนวทาง คือ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548ก)

                                            1) ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อัตราธาตุอาหารที่ควรใส่คือ 18 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อ
                       ไร่ 6 กิโลกรัมฟอสฟอรัสต่อไร่ และ 6 กิโลกรัมฟอสฟอรัสต่อไร่ คิดเป็นน้ าหนักปุ๋ยแล้วแบ่งใส่ 3 ครั้งดังนี้
                                                   1.1)  ครั้งที่ 1  ส าหรับนาด าใส่ในช่วงปักด า แต่ถ้าเป็นนาหว่านใส่หลัง
                       ข้าวงอก 15-20 วัน โดยใช้สูตร 16-20-0 หรือปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ปุ๋ยสูตร 46-0-0

                       อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา10 กิโลกรัมต่อไร่
                                                   1.2)  ครั้งที่ 2  ใส่ในระยะที่ข้าวแตกกอ หรือ 30  วันหลังการใส่ปุ๋ยครั้ง
                       แรก คือ ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 13 กิโลกรัมต่อไร่
                                                   1.3) ครั้งที่ 3 ใส่ในระยะที่ข้าวก าเนิดช่อดอก คือปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา

                       13 กิโลกรัมต่อไร่
                                            2) ข้าวไวต่อช่วงแสง อัตราธาตุอาหารที่ควรใส่คือ 9 กิโลกรัม ไนโตรเจนต่อไร่ 6
                       กิโลกรัม ฟอสฟอรัสต่อไร่ และ 6 กิโลกรัม โพแทสเซียมต่อไร่ คิดเป็นน้ าหนักปุ๋ยแล้วแบ่งใส่ 2 ครั้งดังนี้

                                                   2.1)  ครั้งที่ 1  ส าหรับนาด าใส่ในช่วงปักด า แต่ถ้าเป็นนาหว่านใส่หลัง
                       ข้าวงอก 15-20 วัน โดยใช้สูตร 16-20-0 หรือปุ๋ยสูตรใกล้เคียง อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยสูตร 0-0-
                       60 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่
                                                   2.2) ครั้งที่ 2 ใส่ในระยะที่ข้าวก าเนิดช่อดอก คือปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา
                       10 กิโลกรัมต่อไร่


                       3.2 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
                              ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการน าวัสดุอินทรีย์ และอนินทรีย์ธรรมชาติ

                       ทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูงมาผ่านการหมักจนสลายตัวสมบูรณ์ หรือการน าปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการ
                       สลายตัวสมบูรณ์แล้ว ผสมกับวัสดุอินทรีย์ และหรืออนินทรีย์ธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูง
                       โดยส่วนใหญ่ปุ๋ยอินทรีย์จะมีปริมาณธาตุอาหารค่อนข้างต่ า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุอาหารหลัก ได้แก่
                       ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งมีความจ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อเปรียบกับปุ๋ยเคมี

                       ในปริมาณที่เท่ากันการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ธาตุอาหารเพียงพอและสมดุลส าหรับพืชหรือเพื่อทดแทน
                       ปุ๋ยเคมีจึงต้องใช้ในปริมาณมาก ดังนั้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกพืชอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการ
                       เจริญเติบโตและผลผลิตที่ต้องการ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553ข)
                              การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ให้มีปริมาณธาตุอาหารหลักที่สูงขึ้นจากปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไปหรือเรียกว่าปุ๋ย

                       อินทรีย์คุณภาพสูงนั้น ปัจจัยที่ส าคัญประการหนึ่งคือ วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต โดยวัตถุดิบแต่ละ
                       ชนิดมีปริมาณธาตุอาหารที่แตกต่างกัน วัตถุดิบที่มีปริมาณธาตุอาหารหลักค่อนข้างสูงนั้นจะพบในเศษ
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47