Page 45 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 45
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ภาคผนวกที่ 2
หลักเกณฑ์การประเมินความเหมาะสมของที่ดิน
การจัดทําเขตเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจใช้หลักการประเมินความเหมาะสมที่ดิน
(Qualitative Land Evaluation) ตามหลักการของ FAO Framework โดยการประเมินความเหมาะสมที่ดิน
เป็นการพิจารณาศักยภาพของหน่วยทรัพยากรที่ดินต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในการจัดการ
ที่แตกต่างกัน วิธีการประเมินใช้วิธีการจับคู่ (Matching) ระหว่างคุณภาพที่ดิน (Land Quality) และปัจจัย
ที่มีผล ต่อการเจริญเติบโตของพืช (Crop Requirement) ทั้งนี้ สามารถจัดลําดับความเหมาะสมของพืชออกเป็น
4 ระดับ ได้แก่
S1 : ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (Highly suitable)
S2 : ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderately suitable)
S3 : ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (Marginally suitable)
N : ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (Not suitable)
คุณภาพที่ดินเป็นคุณภาพของที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช โดยคุณภาพ
ที่ดินประกอบด้วยคุณลักษณะของดิน (Soil Characteristic) ตัวเดียวหรือหลายตัว คุณภาพที่ดินในระบบ
ของ FAO ได้กําหนดไว้ 25 ชนิด แต่ภายใต้เงื่อนไขการคัดเลือกคุณภาพที่ดินต้องประกอบด้วยเงื่อนไข
ครบ 3 ประการ ได้แก่ 1) สมบัติดินต้องมีผลต่อพืชนั้นๆ 2) ต้องมีค่าวกฤตที่พบในพื้นที่ที่ปลูกพืช 3)
เป็นข้อมูลที่สามารถรวบรวมได้ ซึ่งจากเงื่อนไขการคัดเลือกคุณภาพที่ดินดังกล่าว สามารถคัดเลือก
คุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ดังตารางภาคผนวกที่ 1
ตารางภาคผนวกที่ 1 คุณลักษณะดินที่เป็นตัวแทนของคุณภาพที่ดิน
คุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพล คุณลักษณะดินที่เป็นตัวแทน
ต่อการเจริญเติบโตของพืช (Land Quality) (Soil Characteristic)
1. ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช - ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยในรอบปี
(Moisture Availability : m) - ความต้องการนํ้าในช่วงการเจริญเติบโตของพืช
- เนื้อดิน
2. ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช - สภาพการระบายนาของดิน
(Oxygen Availability : o)
3. ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร - ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
(Nutrient Availability : s) - ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH)