Page 47 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 47
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ผ-9
ตารางภาคผนวกที่ 2 (ต่อ)
กลุ่มชุดดิน
คุณลักษณะดิน หน่วย
7 15 22 28 31B 33b 35B
ความจุในการแลกเปลี่ยน % 10-20 10-20 <10 >20 >20 <10 <10
ประจุบวก (C.E.C.)
ความอิ่มตัวด้วยประจุ % >75 35-75 35-75 35-75 35-75 >75 <35
บวก ที่เป็นด่าง(B.S.)
ความลึกของดิน cm. >150 >150 >150 >150 >150 >150 >150
ค่าการนําไฟฟ้า (E.C.) mmho. <2 <2 <2 <2 <2 <2 <2
/cm.
ความลาดชัน % 0-2 0-2 0-2 0-2 2-5 0-2 2-5
ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2553)
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของพืช (Crop Requirement)
พืชแต่ละชนิดมีความต้องการปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ปัจจัยความต้องการด้านพืช
ประกอบด้วย ปริมาณนํ้าฝนหรือความต้องการนํ้าในช่วงการเจริญเติบโตของพืช การระบายนํ้าของดิน
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ความอิ่มตัวด้วยประจุที่เป็นด่าง ฯลฯ
การกําหนดระดับความต้องการปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชกําหนดโดยอาศัยช่วงค่า
ความเหมาะสมจากการคาดคะเนปัจจัยร่วม หากมีช่วงค่าความเหมาะสมมากจะให้ค่าพิสัยสูง แต่ค่าปัจจัย
ใดที่มีช่วงที่ มีผลต่อการหยุดชะงักการเจริญเติบโตของพืชจะให้ค่าพิสัยตํ่า เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสม
ต่อการเจริญเติบโตของพืชชนิดหนึ่งจะถูกกําหนดให้มีค่าพิสัยสูง แต่ช่วงอุณหภูมิที่ทําให้พืช
เจริญเติบโตช้าหรือหยุดชะงัก การเจริญเติบโตจะถูกกําหนดให้มีค่าพิสัยตํ่าสุด
การกําหนดระดับความเหมาะสมของค่าพิสัยของคุณภาพที่ดินสาหรับพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิด
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แสดงในตารางภาคผนวกที่ 3 ถึงตารางภาคผนวกที่ 15