Page 44 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 44
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ผ-6
(S1 S2 S3 และ N) ไปสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกร และจัดทําศูนย์เรียนรู้ 882 ศูนย์ ประกอบด้วย ข้าว
396 ศูนย์ ไม้ผลต่างๆ 107 ศูนย์ พืชผักต่างๆ 85 ศูนย์ มันสําปะหลัง 55 ศูนย์ ยางพารา 23 ศูนย์ อ้อยโรงงาน
6 ศูนย์ และกิจกรรมไร่นาสวนผสมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 183 ศูนย์
6. แนวทางการขับเคลื่อนโซนนิ่ง : Zoning Blueprint ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก
6.1 การจัดทําข้อมูลสารสนเทศการเกษตร เช่น แหล่งผลิต ปริมาณการผลิต ปฏิทินการเพาะปลูก
ต้นทุนการผลิต ปริมาณความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ แนวโน้มของตลาด
ในอนาคตข้างหน้า เป้าหมายการผลิตที่เหมาะสมสําหรับสินค้าเกษตรแต่ละชนิด ต้นทุนการผลิต ราคา
ที่เกษตรกรได้รับ กําลังการผลิต และที่ตั้งโรงงานในกรณีที่สินค้าต้องส่งโรงงานเพื่อแปรรูป ฯลฯ
6.2 จัดทํานโยบาย ยุทธศาสตร์การพัฒนา แนวทางการกําหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ มาตรการ/
แนวทางพัฒนาสินค้าเกษตร รวมทั้งจัดทําท่าทีและร่วมเจรจาการค้าสินค้าเกษตรและความร่วมมือด้าน
เศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ จัดทํารายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการเกษตรทั้งภายในประเทศ
และต่างประเทศ บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบาย Zoning ของ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์บรรลุตามวัตถุประสงค์สอดคล้องกับสถานการณ์และกลไกต่างๆ ที่มีอยู่
สามารถดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
6.3 กําหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจเป็นรายสินค้า ดําเนินการกําหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสําหรับ
สินค้าแต่ละชนิดโดยพิจารณาจากพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตที่เหมาะสมสําหรับสินค้าเกษตร และมี
ความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ