Page 43 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 43
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ผ-5
4.3ปาล์มนํ้ามัน
วิสัยทัศน์ หรือ Position อุตสาหกรรมปาล์มนํ้ามันมีความยั่งยืน เพื่อความมั่นคงทางด้าน
อาหารและพลังงานที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย - การผลิตที่มีประสิทธิภาพสนองตอบความต้องการใช้ในประเทศ ทั้งเพื่อบริโภค
และเพื่อพลังงาน และส่งออกส่วนเกิน
4.4อ้อย
วิสัยทัศน์ หรือ Position เป็นผู้นําในการส่งออกนํ้าตาลในเอเชีย และการเป็นศูนย์กลางเอทานอล
ของภูมิภาค
เป้าหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตต่อไร่ จัดระบบนํ้าในไร่อ้อย
และจัดแปลงปลูกเพื่อใช้เครื่องจักรกล
นอกเหนือจากพื้นที่และสินค้าแล้ว ด้านการบริหารจัดการ Demand และ Supply ยังมีความไม่
สมบูรณ์ครบถ้วน เนื่องจากยังมีผลผลิตในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เช่น ในพื้นที่ป่า อีกจํานวนหนึ่ง ซึ่งไม่
สามารถควบคุมและบริหารจัดการได้ ซึ่งมีการประชุมเพื่อวางแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน ระหว่างกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ในผังเศรษฐกิจเสรี Demand และ Supply ที่เกิดจากพื้นที่
ของประเทศเพื่อนบ้าน จะมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการในประเทศไทย
ทั้ง 4 สินค้า กําลังอยู่ระหว่างการจัดทํา Road Map สินค้า ระยะเร่งด่วน (ปี 57/58) ระยะสั้น ระยะ
ปานกลาง และระยะยาว เพื่อบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ หรือ Zoning การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
การนํานวัตกรรมมาใช้ในการผลิต การผลิตแบบเกษตรสมัยใหม่ การเชื่อมโยงด้านการตลาด และการสร้าง
ความร่วมมือในการพัฒนาสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งคาดว่าจะนําหารืออีกครั้งในสัปดาห์หน้า
ในมิติสินค้าทั้ง 4 ชนิด ควรนําแนวทางการช่วยเหลือสินค้า ข้าว และยางพารา มาประกอบการ
พิจารณาซึ่งภาคเอกชนให้ความสําคัญโดยมีข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนผ่าน คณะกรรมการร่วม
ภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ทั้งนี้จะต้องมีการชี้เป้ าหมายความต้องการ
ของแต่ละสินค้า รวมทั้งมีเครื่องมือในการจูงใจในแต่ละสินค้า เช่น ยางมีเงิน Cess เป็นต้น
5. การจัดทําศูนย์เรียนรู้โดยใช้หลักการ Zoning
คัดเลือกศูนย์เรียนรู้จําแนกตามพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมเล็กน้อย
และไม่เหมาะสม ประกอบกับความต้องการของเกษตรกร จึงจะมีประเด็นการเรียนรู้ทั้งการพัฒนาและ
การเปลี่ยนกิจกรรมตามหลักของ Zoning จากเกษตรกรต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจน
ประสบความสําเร็จ สามารถถ่ายทอดและเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรรายอื่น โดยกรมส่งเสริมการเกษตร
ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ระดับอําเภอและตําบล นําแผนที่ตามประกาศเขตเหมาะสม