Page 227 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 227

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            6-13





                               (2) เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง(Z-II) มีเนื้อที่ 12,574,561 ไร่หรือ
                      ร้อยละ 17.32 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน ประกอบด้วย 71 จังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ
                      สุรินทร์ พิจิตร นครสวรรค์ และเชียงรายตามลําดับมีผลผลิตคาดการณ์ประมาณ 7.60 ล้านตัน

                               (3) เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย(Z-III) มีเนื้อที่ 44,796,604 ไร่หรือร้อยละ 61.70
                      ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน ประกอบด้วย 74 จังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา

                      ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์และขอนแก่น ตามลําดับมีผลผลิตคาดการณ์ประมาณ 25.00 ล้านตัน
                              2)  แบ่งตามภาค ได้ดังนี้
                               (1) ภาคเหนือ มีเนื้อที่ 16,030,846 ไร่หรือร้อยละ 22.08 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน สําหรับ

                      บริเวณที่เหมาะสมในการส่งเสริมการปลูกข้าวหอมมะลิจะกระจายอยู่ในภาคเหนือตอนบนเป็นส่วนใหญ่
                      โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และ พะเยา

                               (2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ 43,460,744 ไร่หรือร้อยละ 59.86 ของเนื้อที่เขต
                      การใช้ที่ดิน  ในภาคนี้จะเป็นพื้นที่เหมาะสมในการส่งเสริมการปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศ

                      โดยเฉพาะในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีของ
                      ประเทศไทย
                               (3) ภาคกลาง มีเนื้อที่ 8,674,620 ไร่หรือร้อยละ 11.95 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน

                               (4) ภาคตะวันออก มีเนื้อที่ 2,629,644 ไร่หรือร้อยละ 3.62 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน
                               (5) ภาคใต้มีเนื้อที่ 1,804,335 ไร่หรือร้อยละ 2.49 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน

                            6.4.2 ข้อเสนอแนะ
                               1)  ด้านการผลิต

                               -  วางแผนการบริหารจัดการนํ้าแบบยั่งยืน โดยจัดสรรนํ้าให้สอดคล้องกับปริมาณนํ้า
                      ต้นทุนในอ่างเก็บนํ้า เพื่อสนับสนุนการใช้นํ้าทุกกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมรวมทั้งมีนํ้า
                      สํารองไว้ส่วนหนึ่งสําหรับการตกกล้าในฤดูฝน

                               -  เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต และการปรับปรุงคุณภาพ
                      ผลผลิตตามแนวทางการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการตรวจรับรอง

                      คุณภาพ
                               -  การปรับปรุงบํารุงดิน โดยเน้นการใช้ปุ๋ ยหมักและปุ๋ ยพืชสด แก้ปัญหาดินเปรี้ยวดินเค็ม
                               -  ปรับพื้นที่แปลงนาในบางพื้นที่ให้มีรูปร่างและขนาดเหมาะสมต่อการใช้เครื่องมือจักรกล

                      ทั้งในด้านการผลิต การขนถ่ายผลผลิต และเคลื่อนยายเครื่องจักรได้
                               -  ส่งเสริมวิจัย ค้นคว้าหาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ตามความต้องการของตลาด และเป็นพันธุ์

                      ต้านทานโรคและแมลง
   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232