Page 226 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 226

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            6-12





                            6.3.4 มาตรการด้านการบริหารจัดการและบทบาทภาครัฐ
                              -  ชดเชยรายได้เกษตรกรเพิ่มเติมช่วงเกษตรกรจําหน่ายข้าวได้ในราคาตํ่า โดยชดเชย

                      ส่วนต่างระหว่างเกณฑ์กลางอ้างอิงกับราคาที่เกษตรกรขายได้จริง
                              -  จัดระบบการปลูกข้าวตามที่กรมการข้าวนําเสนอ เพื่อจัดระบบการปลูกข้าวให้มีการปลูก

                      ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง โดยงดเว้นการปลูกข้าวแบบต่อเนื่องทั้งปี เพื่อให้มีการใช้นํ้าไม่เกินปริมาณนํ้าต้นทุน
                      ที่มีอยู่และเพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช รวมทั้งรักษาระบบนิเวศน์ในนาข้าวให้มีความสมดุล

                              -  จัดทํายุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรระยะยาวเป็นรายสินค้า เพื่อเป็นกรอบใน

                      การจัดทําแผนปฏิบัติการ โดยเน้นการเพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่า รวมทั้ง
                      ยังให้ความสําคัญกับการเจรจาทางการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการส่งออก

                      ข้าวของไทย
                              -  ดําเนินการตรวจสอบรับรองผลผลิตโดยใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม

                      แห่งชาติเกี่ยวกับข้าวเป็นตัวกําหนด เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
                              -  จัดตั้งคณะทํางานเพื่อการเจรจาข้อตกลงทางการค้ากับประเทศคู่ค้าเพื่อการต่อรอง

                      และลดข้อจํากัด
                              -  สนับสนุนต้นพันธุ์ดีที่มีความต้านทานต่อโรคแมลง และมีความแข็งแรงในแปลงพันธุ์

                      ที่มีความน่าเชื่อถือจากภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการใช้พันธุ์เกิน 3 ปี และซื้อพันธุ์ข้าวใหม่
                      จากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ


                      6.4  สรุปและข้อเสนอแนะ

                            6.4.1  สรุป

                                 เขตการใช้ที่ดินสําหรับปลูกข้าว มีเนื้อที่รวม 72,600,189 ไร่ประกอบด้วย 3 เขต คือ เขต
                      การใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก(Z-I)เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II)  และ เขต

                      การใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย(Z-III) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

                              1)  แบ่งตามเขตการใช้ที่ดิน ได้ดังนี้
                               (1) เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก(Z-I) มีเนื้อที่ 15,229,024 ไร่หรือร้อยละ 20.98

                      ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน ประกอบด้วย 74 จังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                      สุพรรณบุรี กําแพงเพชร นครราชสีมา และชัยนาทตามลําดับมีผลผลิตคาดการณ์ประมาณ 10.58 ล้านตัน
   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231