Page 228 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 228

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            6-14





                               -  ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีและมีการเปลี่ยนพันธุ์ใหม่ทุกๆ
                      ฤดูปลูก
                               -  ถ่ายทอดองค์ความรู้โดยให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เน้นการเรียนรู้ตาม

                      ระบบโรงเรียนเกษตร มีการเรียนรู้แบบครบวงจร ตั้งแต่ระบบนิเวศน์ในไร่นา ลักษณะการเจริญเติบโตของข้าว
                      พันธุ์ข้าว การป้องกันกําจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
                               -  ส่งเสริมการผลิตและการใช้สารอินทรีย์และสารชีวภาพแทนสารเคมี

                               -  การส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและจัดการฝึกอบรมให้เกษตรกรร่วมกับ
                      การคัดเลือกผู้นําที่มีศักยภาพเพื่อให้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีแบบรุ่นต่อรุ่นได้
                               -  การเร่งสร้างความรู้และความเข้าใจแก่เกษตรกรถึงความสําคัญของการปฏิบัติที่
                      ถูกต้องและเหมาะสม(GAP)เทคโนโลยีการแปรรูปและการจัดการ รวมถึงการตลาดแบบครบวงจร

                      โดยมีเจ้าหน้าที่จากภาครัฐเป็นผู้ให้คําปรึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมการสร้างเกษตรกรให้เป็นมืออาชีพ
                                 2)  ด้านการแปรรูป

                               -  การสนับสนุนสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนในการวิจัยการแปรรูปและการพัฒนา
                      รูปแบบบรรจุภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพให้มีความหลากหลายตรงกับความต้องการของตลาดและ
                      การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่สถาบันเกษตรกร
                               -  การสนับสนุนให้นําผลงานวิจัยผลิตภัณฑ์ไปใช้ในการปฏิบัติเชิงพาณิชย์เพื่อการส่งออก

                               -  การสนับสนุนให้มีการแปรรูปที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น (OTOP)  เพื่อเพิ่มมูลค่า
                      ผลิตภัณฑ์

                              3)  ด้านการตลาด
                               -  ผลักดันให้มีการใช้มาตรฐานการซื้อขายข้าวเปลือก
                               -  สร้างแรงจูงใจให้มีการผลิตข้าวที่ได้การรับรองมาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                               -  ส่งเสริมการบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ

                               -  ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันเกษตรกรให้มีส่วนร่วมในการซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตร
                      ล่วงหน้า
                               -  การสนับสนุนระบบตลาดข้อตกลงและตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่มีการทําสัญญาซื้อขาย

                      ระหว่างเกษตรกรและเอกชน/โรงงานผู้รับซื้อผลผลิต
                              4)  ด้านการบริหารจัดการ
                               -  จัดตั้งองค์กรที่รับผิดชอบในเรื่องข้าวแบบครบวงจร

                               -  จัดตั้งคณะทํางานในรูปแบบบูรณาการทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเจรจาทางการค้ากับ
                      ประเทศคู่ค้าและแข่งขัน
                               -  การให้ความสําคัญและความช่วยเหลือแก่เกษตรกรอย่างจริงจัง และมีประสิทธิภาพ

                      ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด
   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233