Page 157 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 157

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-97






                      องค์ประกอบ กขช.  บางตําแหน่งเพื่อความเหมาะสมสอดคล้อง และให้การดําเนินงาน ของ กขช.
                      เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงมีคําสั่งปรับปรุงและแต่งตั้งกรรมการใน กขช.

                      เพิ่มเติม จากอํานาจของ กขช.  เพื่อให้การดําเนินงานเกี่ยวกับข้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และ
                      เกิดประโยชน์สูงสุดจึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ ดังนี้

                               - คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิต (อนุกขช. ด้านการผลิต) มีอํานาจ
                      หน้าที่ในการเสนอแผนงานโครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตข้าว การส่งเสริมศักยภาพของ

                      เกษตรกรชาวนาต่อ กขช.  เสนอแนวทางการพัฒนาส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การสร้าง
                      มูลค่าเพิ่มของข้าว รวมทั้งเสนอแนวทางในการส่งเสริมการศึกษาวิจัยการผลิตข้าวที่เหมาะสมต่อ กขช.

                      (คําสั่ง กขช. ที่1/2554) ต่อมาได้มีคําสั่งปรับปรุงและแต่งตั้งองค์ประกอบ คณะอนุกรรมการนโยบายข้าว
                      แห่งชาติด้านการผลิตเพิ่มเติม (คําสั่ง กขช. ที่ 1/2555)
                                - คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาด (อนุกขช. ด้านการตลาด) มี

                      อํานาจหน้าที่ในการเสนอแผนงาน โครงการ มาตรการ และแนวทางการดําเนินการเกี่ยวกับ การตลาดข้าว

                      ที่เหมาะสมต่อ กขช.  เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดผลดีต่อระบบการค้าข้าวโดยรวม รวมทั้งเสนอ
                      แนวทางในการส่งเสริมการศึกษาวิจัยการตลาดข้าวที่เหมาะสมต่อ กขช. (คําสั่ง กขช. ที่ 2/2554) ต่อมาได้
                      มีคําสั่งปรับปรุงและแต่งตั้งองค์ประกอบคณะอนุกรรมการ นโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาดเพิ่มเติม

                      (คําสั่ง กขช. ที่2/2555)

                                -  คณะอนุกรรมการติดตามกํากับดูแลการรับจํานําระดับจังหวัด มีอํานาจหน้าที่ใน
                      การพิจารณาวางระบบการรับจํานํา การประชาสัมพันธ์ การประชุมชี้แจงการดําเนินโครงการรับจํานํา

                      การออกหนังสือรับรองเกษตรกร การรับรองโรงสี/โกดังกลาง การกํากับดูแลการรับจํานําที่โรงสี / ตลาดกลาง
                      การจัดสรรใบประทวนให้แก่โรงสี/ตลาดกลางที่เข้าร่วมโครงการในจังหวัด การตรวจสอบปริมาณข้าว

                      คงเหลือโรงสี/ตลาดกลางก่อนรับมอบข้าวเปลือกจํานํา การตรวจสอบโกดังกลางก่อนรับมอบ ข้าวสาร
                      และการตรวจสอบปริมาณข้าวสารคงเหลือที่โกดังกลาง จนถึงการระบายข้าวเปลือก กํากับดูแล และ

                      แก้ไขปัญหาการรับจํานําในพื้นที่เป็นไปด้วยความรวดเร็วรัดกุม และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
                      รวมทั้งป้ องกันการสวมสิทธิและการปลอมปนข้าวเพื่อให้ประโยชน์ตกแก่เกษตรกรอย่างแท้จริง

                      นอกจากนั้นยังเสนอแนะแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ค้าข้าว
                      และผู้ส่งออกของจังหวัด เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและเกิดประโยชน์ต่อระบบการผลิต และการค้าข้าว

                      ของจังหวัด (คําสั่ง กขช. ที่3/2554) ต่อมาได้มีคําสั่งปรับปรุงและแต่งตั้งองค์ประกอบคณะอนุกรรมการ

                      ติดตามกํากับดูแลการรับจํานําระดับจังหวัดเพิ่มเติม(คําสั่ง กขช.  ที่ 7/2555และ คําสั่ง กขช.  ที่ 14/2555)
                                -  คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวมีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาหลักเกณฑ์

                      วิธีการ ชนิด ปริมาณ และเงื่อนไขการจําหน่ายข้าวสารในโกดังกลางที่แปรสภาพจากข้าวเปลือก โครงการ
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162