Page 29 - การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศุตรูพืช พด.7 ในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองเพื่อผลิตลองกอง
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       21








                                                        สรุปผลการทดลอง
                              จากการทดลองการใช้น้้าหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืชในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิว
                       เปลือกลองกอง โดยมีต้าหรับการทดลอง 4 วิธีการ คือ วิธีการที่ 1 แปลงควบคุม วิธีการที่ 2 พ่นด้วย
                       สารคลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้้า 20 ลิตร วิธีการที่ 3  พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7

                       (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน และวิธีการที่ 4 พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7
                       (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 14 วัน พบว่าดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเมื่อ
                       สิ้นสุดการทดลองลดลง ปริมาณอินทรียวัตถุในวิธีการที่ 3 และ 4 ซึ่งใช้สารไล่แมลงจากพด. 7 มี
                       ปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น เนื่องจากในน้้าหมักชีวภาพมีจุลินทรีย์การใช้จึงเป็นการเพิ่มให้กับพืชและ

                       ดินท้าให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้น ดินมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ของดินอยู่ในระดับสูงมาก
                       ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ของดินในวิธีการที่ 3 มีปริมาณเพิ่มขึ้น วิธีการที่  3  พ่นด้วยสารป้องกัน
                       แมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน มีปริมาณผลผลิตลองกองเกรด A
                       มากที่สุดเท่ากับ 569 กิโลกรัมต่อไร่ วิธี การที่ 1 แปลงควบคุม มีปริมาณผลผลิตเกรด B, C และ เกรด

                       ต่้า มากที่สุดเท่ากับ 416, 202  และ 50 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล้าดับเปอร์เซ็นต์การท้าลายของศัตรู
                       ลองกองในวิธีการที่ 2 ฉีดพ่นด้วยคลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้้า 20 ลิตร พบเปอร์เซ็นต์รอยแผล
                       น้อยที่สุด ส้าหรับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่า วิธีการที่ 2 ฉีดพ่นด้วยคลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซี

                       ต่อน้้า 20 ลิตร มีต้นทุนการผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 29,543 บาทต่อไร่ และวิธีการที่ 1 แปลงควบคุม มี
                       ต้นทุนการผลิตต่้าสุดเท่ากับ 9,121 บาทต่อไร่ รายได้สุทธิพบว่า วิธีการที่ 3 พ่นด้วยสารป้องกันแมลง
                       ศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน มีรายได้สุทธิสูงที่สุดเท่ากับ 18,031
                       บาทต่อไร่ และวิธีการที่ 2 ฉีดพ่นด้วยคลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้้า 20 ลิตร มีรายได้สุทธิต่้าที่สุด
                       เท่ากับ -163 บาทต่อไร่ ฉะนั้นถ้าจะให้แนะน้าการจัดการสวนลองกองกับเกษตรกร แนะน้าให้ใช้วิธีที่

                       3 คือ พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน

                                                         ประโยชน์ที่ได้รับ

                              ใช้เป็นแนวทางการใช้น้้าหมักชีวภาพความคุมแมลงศัตรูพืช (พด.7) ในการควบคุมหนอนชอน
                       ใต้เปลือกลองกอง

                                                           ข้อเสนอแนะ

                              1. การพ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน
                       ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิต และลดการท้าลายของหนอนชอนใบ
                              2. การใช้ยาฆ่าแมลงคลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้้า 20 ลิตร ช่วยลดการระบาดของหนอน
                       ชอนใบได้แต่ท้าให้ต้นทุนการผลิตสูงมากเกษตรกรได้รายได้สุทธิต่้า จึงควรแนะน้าให้เกษตรกรเลิกใช้

                       สารเคมี
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34