Page 99 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 99

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           72








               เล็กน้อย เพราะมีข้อจํากัดบางอย่างที่อาจลดความสามารถในการผลิต  มีเนื้อที่ 4,857 ไร่ ประกอบด้วย 2 หน่วย
               ที่ดิน และที่ดินที่ไม่มีความเหมาะสม มีเนื้อที่ 336,178 ไร่ ประกอบด้วย 9 หน่วยที่ดิน

                       สถานภาพของทรัพยากรดินที่มีปัญหาและข้อจํากัดในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มนํ้าห้วยทับเสลา

               (รหัส 1104) ประกอบด้วย 1) ดินค่อนข้างเป็นทรายหรือดินร่วนหยาบ มีเนื้อที่ 83,923 ไร่ หรือร้อยละ 18.10
               ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา 2) ดินทราย มีเนื้อที่ 1,495 ไร่ หรือร้อยละ 0.32 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา 3) ดินตื้น มีเนื้อที่

               25,333 ไร่ หรือร้อยละ 5.46 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา 4) ปัญหาอันตรายจากนํ้าท่วม มีเนื้อที่ 7,617 ไร่ หรือร้อย

               ละ 1.64 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา 5) ปัญหาการใช้ที่ดินไม่เหมาะสมตามศักยภาพของที่ดิน มีเนื้อที่ 12,088 ไร่
               หรือร้อยละ 2.61 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา 6) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีเนื้อที่ 293,525 ไร่ หรือร้อยละ 63.28 ของ

               พื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา 7)  พื้นที่ดินลึกปานกลาง มีเนื้อที่ 14,299  ไร่ หรือร้อยละ 3.08  ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

               8) พื้นที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีเนื้อที่ 4,833 ไร่ หรือร้อยละ 1.04 ของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา

               10. วิจารณ์ผลและขยายผลงาน

                       ข้อมูลหน่วยที่ดินที่ได้จากการศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่องานวาง

               แผนการใช้ที่ดิน เพราะจะนําไปจัดเขตความเหมาะสมของที่ดินสําหรับพืชเศรษฐกิจในลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับ
               เสลา (รหัส 1104) ส่วนสถานภาพของทรัพยากรดินที่มีปัญหาและข้อจํากัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน สามารถ

               ช่วยให้ทราบถึงลักษณะปัญหาและข้อจํากัดของดินต่างๆ และแนวทางในการแก้ไข รวมทั้งสามารถนําไปใช้

               เป็นข้อมูลสนับสนุนในโครงการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาในระดับต่างๆ เช่น  โครงการจัดรูปที่ดิน

               โครงการปรับปรุงบํารุงดิน การทําระบบป้ องกันนํ้าท่วม  การจัดทําระบบอนุรักษ์ดินและนํ้า  เป็นต้น ซึ่งจะ
               ช่วยเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาให้มีความถูกต้องแม่นยํามากยิ่งขึ้น  ในการวางแผนการใช้ที่ดินนั้น

               ควรมีการใช้ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติด้านอื่นๆ มารวมประกอบ เช่น ด้านสังคม และเศรษฐกิจ เพื่อให้เห็น

               ภาพที่ชัดเจนต่อการพัฒนาในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้วางแผนสามารถนําข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประกอบในส่วน
               ของการวางแผน เพื่อลดความผิดพลาดให้น้อยลง


               11. ประโยชน์ที่ได้รับ

                       นักวิชาการ และผู้สนใจ สามารถใช้เป็นกรอบและแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการวางแผนการใช้
               ที่ดินเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และตามเป้ าหมายในการพัฒนาที่ได้วางไว้ รวมทั้งสอดคล้องตาม

               นโยบายด้านการเกษตรของภาครัฐในระดับต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               ซึ่งสามารถนําข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม และจัดทําขึ้นนี้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านกายภาพ โดยเฉพาะ
               ข้อมูลที่ได้มีการจัดจําแนกความเหมาะสมของดินสําหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริม

               ทางด้านการเกษตรให้มีความเหมาะสมต่อศักยภาพของดินในพื้นที่ รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปรับปรุง และ

               พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนต่อไป
   94   95   96   97   98   99   100   101   102