Page 97 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 97

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          72


                     7.1.7 การคัดเลือกพื นที่เพื่อเป็นพื นที่รองรับประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน  า
                        หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่เพื่อเป็นพื้นที่รองรับประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า ตามพระราชบัญญัติ

               พัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 ซึ่งได้ยึดพื้นฐาน 2 ประการคือ ลักษณะพื้นที่ และการทับซ้อนกับเขตหวงห้ามตาม
               กฎหมายอื่นๆ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2554) ได้แก่
                        1) พื้นที่ที่จะด าเนินการประกาศเขตส ารวจการอนุรักษ์ดินและน้ าจะต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
                           (1) มีการกร่อนดินมากกว่า 5 ตัน ต่อไร่ ต่อปี

                           (2) มีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มในอนาคตโดยใช้ข้อมูลที่กรมพัฒนาที่ดินได้จัดท าไว้แล้ว
                           (3) ได้เกิดภัยพิบัติมาแล้วในอดีต
                        2) การทับซ้อนกับเขตสงวนหวงห้ามตามกฎหมายอื่น
                           การประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ าหากทับซ้อนกับเขตสงวนหวงห้ามตามกฎหมายอื่น จะด าเนินการ

               ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้มีอ านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นๆ

                        จากหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่รองรับประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ าข้างต้น และจากการศึกษา
               ลักษณะและสมบัติของดินร่วมกับการประเมินอัตราการกร่อนดินพบว่า พื้นที่ต าบลป่ากลาง อ าเภอปัว จังหวัดน่าน

               เป็นพื้นที่ที่มีการท าการเกษตรที่มีความเสี่ยงต่อการกร่อนดินสูง (มีอัตราการกร่อนดินมากกว่า 5 ตัน/ไร่/ปี) และมี
               แนวโน้มว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มในอนาคต เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรอย่างเข้มข้น
               และยาวนาน ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า เป็นพื้นที่ที่ไม่ทับซ้อนกับเขตป่าหรือเขตสงวนอื่นๆ ทั้งนี้ จากการท า

               ประชาพิจารณ์เพื่อส ารวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ปรากฏว่าเกษตรกรผู้ส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่มีปัญหา
               เรื่องการกร่อนดิน มีน้ าไหลบ่าหน้าดินในฤดูฝน อีกทั้งยังเห็นว่าหากมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าแล้ว จะช่วยท าให้
               สามารถเพิ่มผลผลิตพืชมากขึ้น ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น ในการนี้เกษตรกรเจ้าของพื้นที่มีความ
               พร้อมและยินยอมให้กรมพัฒนาที่ดินสามารถเข้าด าเนินมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่ได้ด้วย ดังนั้นจึงได้
               คัดเลือกพื้นที่ดังกล่าวเพื่อเป็นพื้นที่ศึกษากระบวนการท างานการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ าในล าดับต่อไป

               (กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน, 2557)
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102