Page 92 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 92

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          69


                     7.1.5 ปัญหาทรัพยากรดิน และแนวทางแก้ไข
                        จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินบริเวณพื้นที่รองรับการประกาศเขตส ารวจที่ดินลุ่มน้ าน้ า

               ย่าง จังหวัดน่าน สามารถสรุปปัญหาทรัพยากรดินในพื้นที่ (ภาพที่ 20) แยกตามสภาพพื้นที่และคุณสมบัติของดิน
               พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้
                        1) ปัญหาดินในพื้นที่ลุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ าท่วมขังฉับพลัน เนื่องจากเป็นบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ าเป็นแหล่งรวมน้ า
               และทางระบายน้ าของพื้นที่ ท าให้น้ าในบริเวณไหลบ่าอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งน าพาตะกอนดินมาทับถมยังพื้นที่ ส่งผลให้

               พืชที่ปลูกเกิดความเสียหายได้ ได้แก่ หน่วยแผนที่ AC-spd,fl-lA และ AC-spd,fsi-lA มีเนื้อที่ 5,448 ไร่ หรือร้อยละ
               4.09 ของพื้นที่
                        แนวทางแก้ไข : ท าทางระบายน้ าหรือท าฝายชะลอความเร็วของน้ าในทางระบายน้ า บ่อดักตะกอน
               มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า เช่น ปลูกพืชเป็นแถบ ปลูกพืชคลุมดิน ท าแนวคันดินร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก

               พัฒนาแหล่งน้ า และจัดระบบการให้น้ าในแปลงนาเพื่อใช้ปลูกพืชไร่หรือพืชผักหลังการเก็บเกี่ยว
                        2) ปัญหาดินตื้นถึงชั้นหินพื้น เป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรต่ า เนื่องจากพบชั้นหินพื้นที่ระดับ
               ความลึก 25-50 เซนติเมตร ซึ่งชั้นนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชในดินชั้นล่างเพื่อหาแร่ธาตุอาหาร
               และน้ า เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตได้ตามปกติ ความลึกของดินจึงเป็นตัวก าหนดระบบของรากพืชในการ

               ชอนไชไปหาอาหารหรือความแข็งแรงของรากในการค้ าจุนล าต้น ได้แก่ หน่วยแผนที่ Li-sgclB Li-sgclC Li-sgclD
               Li-gclD และ Li-gclE มีเนื้อที่ 11,150 ไร่ หรือร้อยละ 8.38 ของพื้นที่
                        แนวทางแก้ไข : การจัดการดินในพื้นที่เหล่านี้จะต้องกระท าอย่างระมัดระวัง ควรเลือกท าการเกษตรใน

               พื้นที่ที่มีหน้าดินหนามากกว่า 25 เซนติเมตร ควรเลือกปลูกพืชที่มีระบบรากสั้นและทนแล้ง พร้อมทั้งมีการ
               ปรับปรุงหรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ด้วยการไถกลบพืชปุ๋ยสดร่วมกับการบ ารุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก
               ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมส าหรับพืชแต่ละชนิด พัฒนาแหล่งน้ าและจัดระบบการให้น้ าในแปลงปลูก
                        3) ปัญหาดินบนพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นบริเวณพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนในพื้นที่ภูเขาที่มีความลาดชัน
               มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ไม่เหมาะที่จะน ามาใช้ท าการเกษตร เพราะหากมีการใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชไม่ถูกต้อง

               จะเกิดปัญหาการกร่อนดินและการเสื่อมโทรมของดินอย่างรวดเร็ว ได้แก่ หน่วยแผนที่ Li-gclF และ Ws-clF
               มีเนื้อที่ 68,380 ไร่ หรือร้อยละ 51.36 ของพื้นที่
                        แนวทางแก้ไข : เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช ดังนั้นจึงควรสงวนไว้เป็นป่า

               ตามธรรมชาติหรือปลูกป่าเพิ่มเติมเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
                        4) บริเวณที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสมกับศักยภาพของดิน กล่าวคือลักษณะของดินมีความ
               เหมาะสมในการปลูกพืชไร่ ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น แต่พื้นที่นั้นได้ถูกดัดแปลงมาใช้ท านาโดยท าคันดินเพื่อกักเก็บน้ า
               เนื่องจากเกษตรกรต้องการปลูกข้าวไว้เพื่อบริโภค จึงดัดแปลงพื้นที่ดังกล่าวที่เป็นพื้นที่ดอนมาใช้ปลูกข้าว โดยทั่วไป

               สภาพพื้นที่นี้ไม่สามารถกักเก็บน้ าได้เนื่องจากเป็นดินมีการระบายน้ าดี จึงต้องมีการท าคันนา แต่ดินจะมีความเสี่ยงสูง
               ต่อการขาดน้ าในฤดูเพาะปลูก ท าให้ได้ผลผลิตของข้าวไม่มากเมื่อเทียบกับการใช้พื้นที่นั้นใช้ปลูกพืชที่เหมาะสมตาม
               ศักยภาพของดิน หน่วยแผนที่ที่พบ ได้แก่ หน่วยแผนที่ Ws-gm-clB Ws-vd,gm-clB และ Ws-vd-Ws-vd,gm-clB
               มีเนื้อที่ 2,254 ไร่ หรือร้อยละ 1.69 ของพื้นที่

                        แนวทางแก้ไข : ดินดอนที่ใช้ท านาดังกล่าวหากเลือกระบบการปลูกพืชให้เหมาะสม หรือเลือกชนิดของพืช
               ให้สอดคล้องกับศักยภาพของดินเอง โดยการปรับเปลี่ยนมาใช้ปลูกพืชไร่ หรือปลูกพืชหลังฤดูท านา ก็จะเป็นการใช้
               ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมและตรงตามกับศักยภาพของดิน
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97