Page 96 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 96

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          71


                     7.1.6 การประเมินอัตราการกร่อนดิน

                        การประเมินอัตราการกร่อนดิน และการท าแผนที่ระดับการสูญเสียดินในลุ่มน้ าน้ าย่างนั้นเป็นข้อมูลที่ได้
               จากการประเมินของกลุ่มป้องกันภัยธรรมชาติและความเสี่ยงทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
               ซึ่งใช้วิธีการซ้อนทับข้อมูลแผนที่ที่ระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยของน้ าฝนและการไหลบ่า
               (R-factor) จากแผนที่เส้นชั้นน้ าฝนรายปีเฉลี่ย ค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน (K-factor)

               จากแผนที่ดิน ค่าปัจจัยความยาวของความลาดชันและเปอร์เซ็นต์ความชัน (LS-factor) จากข้อมูลความสูงเชิงเลข
               (DEM) ความละเอียด 5 เมตร และค่าปัจจัยการจัดการพืชและการปฏิบัติเพื่อป้องกันการกร่อนดิน (CP-factor)
               จากแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน ท าการประเมินค่าอัตราการสูญเสียดินโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

               ร่วมกับสมการการสูญเสียดิน (A = R K L S C P) จากผลการวิเคราะห์และประเมินอัตราการกร่อนดินในพื้นที่
               รองรับการประกาศเขตส ารวจที่ดินลุ่มน้ าน้ าย่าง มาตรส่วน 1: 25,000 โดยอาศัยสมการสูญเสียดินสากล (USLE)
               (ภาพที่ 21) (กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน, 2557) สามารถสรุปได้ดังนี้
                        1) ระดับ 1 การกร่อนดินน้อย มีอัตราการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่ 46,993 ไร่ หรือร้อยละ
               35.29 ของพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและใช้ประโยชน์ในการท านา ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น

                        2) ระดับ 2 การกร่อนดินปานกลาง มีอัตราการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่ 62,944 ไร่ หรือ
               ร้อยละ 47.28 ของพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันมีสภาพป่าไม้ธรรมชาติ บางแห่งมีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม
               รอการฟื้นฟู ท าการเกษตร ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น

                        3) ระดับ 3 การกร่อนดินรุนแรง มีอัตราการสูญเสียดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่ 9,661 ไร่ หรือร้อยละ
               7.26 ของพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนชัน และท าการเกษตร ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล เช่น ล าไย
               มะม่วง ไผ่
                        4) ระดับ 4 การกร่อนดินรุนแรงมาก มีอัตราการสูญเสียดิน 15-20 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่ 2,534 ไร่ หรือ

               ร้อยละ 1.90 ของพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีความลาดชันสูง และท าการเกษตร เช่น ปลูกข้าวโพด ไร่หมุนเวียน
               และยางพารา
                        5) ระดับ 5 การกร่อนดินรุนแรงมากที่สุด มีอัตราการสูญเสียดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่
               11,006 ไร่ หรือร้อยละ 8.27 ของพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีความลาดชันสูง และภูเขาสูง มีการท าการเกษตร

               เป็นบริเวณกว้าง เช่น ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไร่หมุนเวียน ปลูกยางพารา เป็นต้น
                        จะเห็นได้ว่า พื้นที่รองรับการประกาศเขตส ารวจที่ดินลุ่มน้ าน้ าย่างมีอัตราการกร่อนดินในระดับรุนแรง
               ถึงรุนแรงมากที่สุด (มากกว่า 5 ตัน/ไร่/ปี) จ านวน 23,201 ไร่ หรือร้อยละ 17.43 ของพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะพบ
               การกร่อนดินรุนแรงอยู่บริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ซึ่งบริเวณที่พบการแจกกระจายมาก ได้แก่

                           (1) ตอนเหนือของพื้นที่ พบแจกกระจายอยู่บริเวณทิศเหนือของต าบลจอมพระ และต าบลยม
               อ าเภอท่าวังผา ทิศตะวันตกของต าบลป่ากลาง ทิศใต้ของต าบลปัว ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต าบลเจดีย์ชัย
               ทิศตะวันตกของต าบลศิลาเพชร และทิศใต้ของต าบลภูคา อ าเภอปัว

                           (2) ตอนใต้ของพื้นที่ พบแจกกระจายอยู่บริเวณทิศตะวันออกของต าบลป่าคา ทิศใต้ของต าบลจอมพระ
               ต าบลยม และทิศเหนือของต าบลตาลชุม อ าเภอท่าวังผา ทิศตะวันตกและทิศใต้ของต าบลศิลาเพชร อ าเภอปัว
                        โดยสาเหตุหลักที่ท าให้บริเวณดังกล่าวมีอัตราการกร่อนดินในระดับสูงนั้น เนื่องมาจาก เป็นบริเวณที่มี
               ความลาดชันสูง เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อท าการเกษตร และเมื่อมีการท าการเกษตรซึ่งพืชที่
               เกษตรกรปลูกส่วนใหญ่นั้นเป็นพืชไร่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไร่หมุนเวียน มีบางส่วนที่ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ยางพารา

               และไม่มีมาตรการการอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่ จึงท าพื้นที่ให้มีอัตราการกร่อนดินที่สูง
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101