Page 116 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 116

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          84


                     7.2.3 ทรัพยากรดิน
                        จากผลการส ารวจดินแบบละเอียดและท าแผนที่ดิน มาตราส่วน 1:4,000 ในพื้นที่รองรับการประกาศ

               เขตอนุรักษ์ดินและน้ า ต าบลป่ากลาง อ าเภอปัว จังหวัดน่าน สามารถสรุปหน่วยแผนที่ดิน ตามระบอบอนุกรมวิธาน
               ดิน (Soil Taxonomy, 2014) (ตารางที่ 24) สามารถจ าแนกหน่วยแผนที่ดินได้ทั้งหมด 7 หน่วยแผนที่ (ตารางที่
               25-26 และภาพที่ 30) พร้อมประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
                        1) ดินตะกอนน้ าพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ าดีปานกลางและเป็นดินร่วนละเอียด (Alluvium Complex–

               moderately well drained and fine-loamy variant : AC-mw,fl) จ าแนกเป็น Fine-loamy, mixed, semiactive,
               isohyperthermic Fluventic Dystrustepts
                        เป็นดินพวกร่วนละเอียด เกิดจากการทับถมของตะกอนล าน้ า บริเวณที่ลุ่มต่ าระหว่างเนินเขา สภาพพื้นที่
               ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ (0-2 เปอร์เซ็นต์) การระบายน้ าดีปานกลาง น้ าซึมผ่านได้ดีปานกลาง ดินอุ้มน้ าได้ปาน

               กลาง การไหลบ่าของน้ าผ่านผิวดินได้ช้าถึงปานกลาง
                        เป็นดินลึกถึงลึกมาก ดินบนหนาประมาณ 20 เซนติเมตร มีเนื้อดินเป็นดินร่วน สีน้ าตาล สีน้ าตาลปนเทา
               มีจุดประสีเหลืองและสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดิน
               ร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย และอาจพบชั้นดินทรายสลับแทรก สีน้ าตาลปนเทา จุดประสีแดง

               สีน้ าตาลและสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.0) พบก้อนกรวดท้องน้ าลึกมากกว่า
               100 เซนติเมตรจากผิวดิน (ภาพที่ 27)
                        ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติของดินตะกอนน้ าพาเชิงซ้อนอยู่ในระดับต่ า (ตารางที่ 21) ปัจจุบันในช่วง

               ฤดูฝนเกษตรกรใช้ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด
                        ปัญหาของดิน เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินมีแร่ธาตุอาหารตามธรรมชาติน้อย ความอุดมสมบูรณ์ตาม
               ธรรมชาติของดินอยู่ในระดับต่ า ประกอบกับเกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน
               โดยขาดการปรับปรุงบ ารุงดิน ท าให้ดินเสื่อมโทรม ธาตุอาหารพืชลดลง ท าให้พืชเจริญเติบโตช้า ผลผลิตลดลง
               อีกทั้งเป็นดินที่พบอยู่ในทางน้ าระหว่างเนินเขา เป็นทางผ่านของน้ าอาจประสบปัญหาเรื่องการถูกน้ าไหลบ่า

                        การจัดการดิน ควรเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินและปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อไม่ให้ดินเสื่อมโทรมหรือ
               มีความอุดมสมบูรณ์ลดลง เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด หรือใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ไถกลบ
               ปุ๋ยพืชสด (โสนอัฟริกัน หรือโสนอินเดีย) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ า หรือปุ๋ยเคมี และท าคันดินให้มีขนาดใหญ่ขึ้น

               ขวางความลาดเทของพื้นที่และทิศทางการไหลของน้ า ช่วยลดและชะลอความเร็วของกระแสน้ า เพื่อไม่ป้องกัน
               ไม่ให้พืชเกิดความเสียหายจากน้ าไหลบ่าในฤดูฝน
                        ดินตะกอนน้ าพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ าดีปานกลางและเป็นดินร่วนละเอียด พบ 1 หน่วยแผนที่ ได้แก่
                           - AC-mw,fl-lA/d5,E0 : ดินตะกอนน้ าพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ าดีปานกลางและเป็นดินร่วนละเอียด

               มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ ลึกมาก ไม่มีการกร่อน มีเนื้อที่ 119 ไร่ หรือร้อยละ 4.13
               ของพื้นที่
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121