Page 112 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 112

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          82


                        2) ระดับ 2 การกร่อนดินปานกลาง มีอัตราการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่ 477 ไร่ หรือร้อยละ

               15.52 ของพื้นที่รองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันมีสภาพป่าไม้ธรรมชาติ
               บางแห่งมีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมรอการฟื้นฟู ท าการเกษตร ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น

                        3) ระดับ 3 การกร่อนดินรุนแรง มีอัตราการสูญเสียดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่ 828 ไร่ หรือร้อยละ

               28.76 ของพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน ที่ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ยางพารา ไผ่ สัก และข้าวไร่
               บางส่วน

                        4) ระดับ 4 การกร่อนดินรุนแรงมาก มีอัตราการสูญเสียดิน 15-20 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่ 372 ไร่ หรือร้อยละ
               12.91 ของพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีความลาดชันสูง และท าการเกษตร เช่น ไร่หมุนเวียน ยางพารา ไม้ผล
               และป่าเสื่อมโทรม
                        5) ระดับ 5 การกร่อนดินรุนแรงมากที่สุด มีอัตราการสูญเสียดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่

               366 ไร่ หร้อร้อยละ 12.74 ของพื้นที่ โดยเป็นพื้นที่มีความลาดชันสูงที่มีการท าการเกษตรปลูกพืชไร่เป็นส่วนใหญ่
               เช่น ไร่หมุนเวียน ข้าวโพด ข้าวไร่
                        จะเห็นได้ว่า พื้นที่รองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า ต าบลป่ากลาง อ าเภอปัว จังหวัดน่าน
               มีอัตราการกร่อนดินในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด (มากกว่า 5 ตัน/ไร่/ปี) จ านวน 1,566 ไร่ หรือร้อยละ

               54.40 ของพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะพบการกร่อนดินรุนแรงอยู่บริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ซึ่งพบแจกกระจายมาก
               อยู่ทั่วไปโดยรอบพื้นที่ ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ต้นน้ าของน้ าฮาว และน้ าปาว น้ าของสายน้ าที่ไหลลงอ่างเก็บน้ า
               ขนาดเล็ก (ห้วยข้าวหลาม) ท าให้เกิดตะกอนดินจ านวนมากไหลลงมารวมกันที่อ่างเก็บน้ า ส่งผลให้อ่างเก็บน้ าตื้นเขิน

               ใช้งานไม่ได้
                        โดยสาเหตุหลักที่ท าให้บริเวณดังกล่าวมีอัตราการกร่อนดินในระดับสูงนั้น เนื่องมาจากพื้นที่มีความลาด
               ชันสูงเคยเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมมาก่อน เมื่อถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อท าการเกษตร และปลูกพืชไร่เป็นส่วนใหญ่
               ได้แก่ ข้าวโพด ซึ่งมีพื้นที่มากถึง 1,727 ไร่ หรือร้อยละ 59.97 ของพื้นที่ อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวไม่มีมาตรการ
               การอนุกษ์ดินและน้ า จึงมีส่วนที่ท าพื้นที่ให้มีการกร่อนดินในอัตราที่สูงมาก พื้นที่ในเขตนี้จึงควรมีการใช้ที่ดินอย่าง

               ระมัดระวัง ร่วมกับการใช้มาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมการกร่อนดินไม่ให้ทวี
               ความรุนแรงขึ้น
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117