Page 111 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 111

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          81


               แบบที่ดอน (uplands) และเพื่อให้มีความละเอียดมากขึ้น สามารถแบ่งลักษณะทางธรณีสัณฐานและวัตถุต้น
               ก าเนิดดิน ออกได้ดังนี้

                           (1) วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นตะกอนน้ าพาท้องถิ่น (local alluvium)
                              - ส่วนต่ าระหว่างเนินเขา เกิดบริเวณสองข้างของน้ าเป้า และร่องระหว่างเนินเขา มีน้ าไหลหลังฝน
               ตกประมาณ 1-2 วัน เป็นวัสดุดินที่เคลื่อนที่โดยอิทธิพลของน้ าและตกตะกอนในร่องเขา ประกอบด้วย ตะกอนดิน
               เหนียว ดินร่วน ทราย และตะกอนกรวดท้องน้ า

                           (2) วัตถุต้นก าเนิดดินเป็นวัตถุตกค้างและเศษหินเชิงเขา (residuum and colluvium) จากการผุพัง
               สลายตัวของหินดินดาน รวมถึงวัสดุดินที่เกิดหรือได้รับอิทธิพลจากหินชนวน หินฟิลไลต์ หินเคย์ และหินตะกอนกึ่ง
               แข็งตัวร่วมด้วยในบางบริเวณ และการเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ ตามแรงโน้มถ่วงบริเวณเชิงเขา ประกอบด้วย
                              - ที่ดอนราบและที่ดอนลูกคลื่นลอนลาด มีค่าร้อยละความลาดชันทั่วไปน้อย ส่วนใหญ่จะพบ

               หินดินดานที่สลายลาตัวผุพังที่ระดับความลึก 100-150 เซนติเมตรจากผิวดิน
                              - ยอดเนิน ส่วนใหญ่จะมีลักษณะโค้งนูน จะพบหินดินดานที่สลายตัวผุพังที่ระดับความลึก 50-100
               เซนติเมตรจากผิวดิน
                              - ไหล่เขาหรือไหล่เนิน ที่ลาดชันเชิงเขาตอนกลาง เป็นช่วงที่มีการกร่อนดินเป็นกระบวนการส าคัญ

               จะพบหินดินดานที่สลายตัวผุพังที่ระดับความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน บางบริเวณอาจตื้นกว่า 50 เซนติเมตร
                              - เชิงเขา มีความชันน้อย มีอิทธิพลทั้งการกร่อนดินและการถม จะพบหินดินดานที่สลายตัวผุพังที่
               ระดับความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน

                           จากการศึกษาข้อมูลและส ารวจลักษณะทางธรณีวิทยา ธรณีสัณฐาน และวัตถุต้นก าเนิดดิน ในพื้นที่
               รองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า ต าบลป่ากลาง อ าเภอปัว จังหวัดน่าน ท าให้สามารถแบ่งขอบเขตดินได้
               ละเอียดและถูกต้องมากขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง

                     7.2.2 อัตราการกร่อนดิน

                        การประเมินอัตราการกร่อนดิน และการท าแผนที่ระดับการสูญเสียดินในพื้นที่รองรับการประกาศ

               เขตอนุรักษ์ดินและน้ า ต าบลป่ากลาง อ าเภอปัว จังหวัดน่าน นั้นเป็นข้อมูลที่ได้จากการประเมินของกลุ่มป้องกันภัย
               ธรรมชาติและความเสี่ยงทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน ซึ่งใช้วิธีการซ้อนทับข้อมูลแผนที่ที่ระบุ

               ปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยของน้ าฝนและการไหลบ่า (R-factor) จากแผนที่เส้นชั้นน้ าฝนรายปี

               เฉลี่ย ค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกกร่อนของดิน (K-factor) จากแผนที่ดิน ค่าปัจจัยความยาวของความลาดชัน
               และเปอร์เซ็นต์ความชัน (LS-factor) จากข้อมูลความสูงเชิงเลข (DEM) ความละเอียด 5 เมตร และค่าปัจจัยการ

               จัดการพืชและการปฏิบัติเพื่อป้องกันการกร่อนดิน (CP-factor) จากแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน ท าการประเมินค่า
               อัตราการสูญเสียดินโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับสมการการสูญเสียดิน (A = R K L S C P)

               จากผลการวิเคราะห์และประเมินอัตราการกร่อนดินในพื้นที่รองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า มาตราส่วน
               1:4,000 (ภาพที่ 26) (กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน, 2557) สามารถสรุปได้ดังนี้

                        1) ระดับ 1 การกร่อนดินน้อย มีอัตราการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี มีเนื้อที่ 866 ไร่ หรือร้อยละ

               30.07 ของพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้สมบูรณ์ หรือยังคงสภาพป่าธรรมชาติ และบางแห่งบริเวณที่ราบลุ่ม
               ริมน้ าเป็นพื้นที่นา
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116