Page 25 - รายงานการสำรวจดิน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยกุดรัง ลุ่มน้ำสาขาลำน้ำชีส่วนที่ 4 (รหัส 0416) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำชี (รหัส 04) พื้นที่ดำเนินการ บ้านวังทอง หมู่ที่ 7 บ้านวังโจด หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 15 บ้านห้วยเตย หมู่ที่ 12 และบ้านหนองแสง หมู่ที่ 11 ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
P. 25
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
13
แนวทางในการวางแผนศึกษาขั นละเอียดต่อไป แผนที่ที่ใช้ในการส ารวจดินในสนามมีมาตราส่วนอยู่ระหว่าง
1 : 100,000 ถึง 1 : 250,000 แผนที่ที่พิมพ์เผยแพร่มีขนาดมาตราส่วนอยู่ระหว่าง 1 : 100,000 ถึง
1 : 1,000,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปลจากรูปถ่ายทางอากาศ หรือภาพจากดาวเทียม ประกอบกับ
การตรวจสอบดินในสนามในแนวตัดขวางกับสภาพพื นที่และธรณีวิทยา โดยปริมาณจุดที่ตรวจสอบดินจะ
มากกว่าการส ารวจดินแบบหยาบมาก โดยก าหนดไว้ประมาณ 12.5 ตารางกิโลเมตร ต่อ 1 จุดตรวจสอบดิน
(8,000 ไร่ ต่อ 1 จุด) หน่วยแผนที่ที่แสดงไว้บนแผนที่ดินส่วนใหญ่เป็นหน่วยสัมพันธ์ (association) อาจมี
หน่วยเชิงซ้อน (complex) หน่วยเดี่ยว (consociatations) และหน่วยศักย์เสมอ (undifferentiated group)
บ้าง
4) การส ารวจดินแบบหยาบมาก (exploratory survey) เป็นการส ารวจดินเพื่อใช้ข้อมูล
ในการวางแผนระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนศึกษาขั นละเอียดต่อไป
แผนที่ที่ใช้ในการส ารวจในสนามมีมาตราส่วน 1 : 100,000 ถึง 1 : 250,000 แผนที่ที่พิมพ์เผยแพร่มีขนาด
มาตราส่วน 1 : 1,000,000 หรือเล็กกว่า ขอบเขตของดินแต่ละหน่วยที่แสดงไว้ในแผนที่ดิน อาศัยการแปล
จากรูปถ่ายทางอากาศ หรือภาพจากดาวเทียม โดยใช้ข้อมูลพื นฐานและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดิน
เป็นแนวทาง เช่น ข้อมูลทางธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานวิทยา พืชพรรณและการใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพ
ภูมิอากาศ ประกอบกับการตรวจสอบดินในสนามเป็นบางจุด โดยทั่วไปจะเป็นไปในแนวตัดขวางกับสภาพ
พื นที่และธรณีวิทยา หน่วยแผนที่ที่แสดงไว้บนแผนที่ดินส่วนใหญ่เป็นหน่วยสัมพันธ์ (association) อาจมี
หน่วยเดี่ยว (consociatations) และหน่วยศักย์เสมอ (undifferentiated group) บ้าง
ส าหรับในการด าเนินงานในครั งนี ได้ด าเนินการส ารวจใน 3 ระดับ คือ การส ารวจดินระดับ
หยาบ (reconnaissance survey) ซึ่งใช้เพื่อการส ารวจดินพื นที่ลุ่มน าชีส่วนที่ 4 (รหัส 0416) การส ารวจดิน
ระดับค่อนข้างหยาบ (semi-detailed reconnaissance survey) ใช้เพื่อการส ารวจดินในพื นที่ลุ่มน าห้วย
กุดรัง และส ารวจดินแบบละเอียดในไร่นา (detailed survey) ด าเนินการในพื นที่ด าเนินการบ้านวังทอง
หมู่ที่ 7 บ้านวังโจด หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 15 บ้านห้วยเตย หมู่ที่ 12 และบ้านหนองแสง หมู่ที่ 11 ต าบลห้วยเตย
อ าเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
3.17 การจ้าแนกดิน
การจ าแนกดิน (soil classification) หมายถึง การจ าแนกแจกแจงหรือการจัดดินออกเป็น
หมวดหมู่ในระดับต่างๆ ตามลักษณะและสมบัติดินที่เป็นผลมาจากอิทธิพลของปัจจัยการเกิดดินและการสร้าง
ดิน เช่น สมบัติดินทางด้านกายภาพ ทางด้านเคมีและทางด้านแร่ที่คล้ายคลึงกัน มาอยู่ในกลุ่มเดียวกันอย่างมี
ระบบตามคู่มือที่น ามาใช้เป็นแนวทางในการด าเนินงาน ซึ่งการจ าแนกดินมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการจ าแนก
พืชและสัตว์ (วุฒิชาติ, 2548)