Page 25 - องค์ความรู้สู่ปีดินสากล 2558
P. 25

1. ทาน คือ การให ซึ่งไดแก อามิสทาน(การใหสิ่งของ) ธรรมทาน(การใหความรู) และอภัยทาน
                            2. ศีล คือ การมีความประพฤติดีงาม  สํารวม กาย วาจา ใจ ประพฤติตนเปนตัวอยางที่ดี ให

               เปนที่เคารพนับถือของประชาชน
                            3. ปริจจาคะ คือ การบริจาค  การเสียสละความสุขสวนตัวเพื่อประโยชนของสวนรวม
                            4. อาชชวะ  คือ การปฏิบัติหนาที่ดวยความซื่อสัตยสุจริต มีความจริงใจ ไมหลอกลวง
               ประชาชน ซื่อตรงตอคําพูด ซื่อตรงตอวิชาชีพ ซื่อตรงตอเวลา ซื่อตรงตอตัวเอง

                            5. มัททวะ คือ การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถาเปนยุคนี้ ตองเรียกวามีความใจกวางในการรับฟงให
               ประชาชนติติงได ไมดื้อ ไมรั้น ไมบาหรือมัวเมาในอํานาจ
                            6. ตปะ คือ การบําเพ็ญความเพียร เพื่อกําจัดความเกียจครานและความชั่ว พยายามลดกิเลส

               ของตน เมื่อเห็นผลประโยชนวิ่งผานหนา ตปะ จะเปนสิ่งเหนี่ยวรั้งไมใหคนดีเสียคน
                            7. อักโกธะ คือ การไมถือโกรธ ไมผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่ง หรือกลุมใด
               กลุมหนึ่ง นักปกครองใด ครองธรรมะขอนี้ไมได ก็อาจจะนําไปสูการสรางความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
                            8. อวิหิงสา  คือ การไมเบียดเบียน อันไดแก ประชาชน เพื่อนรวมงาน ลูกนองของตน
               หนวยงาน และครอบครัวของตนเอง เพราะการเบียดเบียน นําไปสูการเอาเปรียบ ทําใหเสียนิสัยและนําไปสู

               พฤติกรรมคอรรัปชั่น
                            9. ขันติ คือ การมีความอดทน อดกลั้น ตอแรงกดดันตางๆ
                            10. อวิโรธนะ คือ ความไมคลาดในธรรม  ในการทํางาน อยาใหประชาชนเคลือบแคลงสงสัย

               นั่นคือการทํางานอยางโปรงใส ตรงไปตรงมา

                      ขอฝากไววาทั้ง 10 ประการนี้ หากเจาหนาที่กรมพัฒนาที่ดินไดศึกษาและพยายามนําไปปฏิบัติ โดย
               เรียนรูจากพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ ก็จะทําใหกรมพัฒนาที่ดินเปนหนวยงานที่เปนที่ยอมรับ และเปนที่

               เชื่อถือศรัทธาของประชาชนได  เราตองประพฤติตนเปนแบบอยาง  เทาที่เห็นการขับเคลื่อนงานหมอดินอาสา
               ของกรมพัฒนาที่ดิน ประมาณไดวามีอยูครึ่งหนึ่งที่เขามีความเขาใจ ยอมรับ และรวมมือกับเราในการพัฒนา
               งานตางๆ  เราตองมีความเพียร ตองอดทน และที่สําคัญตองไมเบียดเบียน ไมทุจริตคอรรัปชั่น วันนี้สิ่งที่ทําให
               เราพัฒนาไมทันสิงคโปร เกาหลีใต เวียดนาม เพราะยังมีเรื่องของการทุจริต คอรรัปชั่น

                      ดังนั้น ในการทํางาน ควรศึกษาหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ ซึ่งเปนการ
               ดําเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคลองกับวิถีชีวิตของสังคมไทย  โดยทรงเนน“การพัฒนาคน”
               เปนตัวตั้ง และยึดหลักผลประโยชนของปวงชน  การมีสวนรวมตัดสินใจของประชาชน ตลอดจนภูมิสังคม
               และการพึ่งตนเอง  โดยรูจักประมาณตนและดําเนินการดวยความรอบคอบระมัดระวัง  มีเทคโนโลยีที่

               เหมาะสมดําเนินการไดอยางประหยัด  และใชทรัพยากรธรรมชาติอยางยั่งยืน  สํานักงานคณะกรรมการ
               พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ  (กปร.)  รวบรวมหลักการทรงงานไวถึง
               ๒๓ หลักการ  ซึ่งสามารถนอมนําไปปฏิบัติในวาระและโอกาสตางๆตามความเหมาะสม ไดแก  ๑. ศึกษา

               ขอมูลอยางเปนระบบ  ๒.ระเบิดจากขางใน  ๓.แกปญหาที่จุดเล็ก ๔.ทําตามลําดับขั้น  ๕.ภูมิสังคม  ๖.องครวม
               ๗.ไมติดตํารา  ๘.ประหยัด เรียบงาย ไดประโยชนสูงสุด  ๙.ทําใหงาย  ๑๐.การมีสวนรวม  ๑๑.ประโยชน
               สวนรวม  1๒.บริการรวมที่จุดเดียว  ๑๓.ทรงใชธรรมชาติชวยธรรมชาติ  ๑๔.ใชอธรรมปราบอธรรม  ๑๕.ปลูก
               ปาในใจคน  ๑๖.ขาดทุนคือกําไร  ๑๗.การพึ่งตนเอง  ๑๘.พออยูพอกิน   ๑๙.เศรษฐกิจพอเพียง  ๒๐.ความ
               ซื่อสัตย สุจริต จริงใจตอกัน  ๒๑.ทํางานอยางมีความสุข  ๒๒.ความเพียร : พระมหาชนก  ๒๓. รู รัก สามัคคี

                      จากประสบการณของผมที่ไดทํางานที่เขาหินซอนตั้งแตป พ.ศ.2540 รวมประมาณ 6 ปเศษ ก็เห็น
               การดําเนินงานที่ศูนยศึกษาการพัฒนาเขาหินซอน เปนไปในลักษณะ“ทําตามลําดับขั้น” อยางบูรณาการ โดย
               มีแนวทางในการพัฒนาพื้นที่อยู 4 – 5 ประการหลักๆ


                    22  องคความรูสูปดินสากล 2558
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30