Page 55 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองละงู
P. 55

3-7





                  มีการระบายน้้าดี เนื้อดินช่วง 50 เซนติเมตร ตอนบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย

                  ในระดับความลึก ประมาณ 50-100 เซนติเมตร จะพบชั้นดินปนเศษหินหรือลูกรัง สีดินเป็นสีน้้าตาล

                  สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด
                  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-5.5 ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความ

                  อุดมสมบูรณ์ต่้า ดินค่อนข้างเป็นทราย บริเวณที่มีความลาดชันสูงเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน

                  ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ปลูกไม้ยืนต้น แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                    -  หน่วยที่ดินที่ 50B สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่ 262 ไร่
                  หรือร้อยละ 0.05 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่ 50C สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด มีเนื้อที่ 229 ไร่ หรือร้อยละ

                  0.04 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                      - หน่วยที่ดินที่ 50D สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อที่ 214 ไร่ หรือร้อยละ
                  0.04 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                (6)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินตื้นถึงชั้นหินพื้น เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูก

                  เคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นก้าเนิดดินที่มาจากหินเนื้อหยาบ บนบริเวณพื้นที่ดอน
                  บริเวณที่ลาดเชิงเขาต่างๆ สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา เป็นดินตื้นหรือตื้นมาก

                  มีการระบายน้้าดี เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนเศษหิน เศษหินส่วนใหญ่เป็นพวกเศษหินทรายและควอตซ์

                  หรือหินดินดาน สีดินเป็นสีน้้าตาล สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดิน
                  เป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-5.5 ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์

                  ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้น มีเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินเป็นปริมาณมาก และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า

                  บริเวณที่มีความลาดชันสูงเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวเป็นป่าดิบชื้น
                  บางแห่งใช้ปลูกยางพารา หรือปล่อยทิ้งเป็นป่าละเมาะ แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                    -  หน่วยที่ดินที่ 51  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 54 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.01 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                    -  หน่วยที่ดินที่ 51B สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่ 404 ไร่
                  หรือร้อยละ 0.08 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                     - หน่วยที่ดินที่ 51C สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด มีเนื้อที่ 22,154 ไร่ หรือร้อยละ

                  4.20 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                - หน่วยที่ดินที่ 51D สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อที่ 14,508 ไร่ หรือร้อยละ

                  2.75 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา









                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองละงู
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60