Page 50 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองละงู
P. 50

3-2





                  มักพบก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีส ปะปนอยู่ และในชั้นดินล่างลึกๆ อาจพบก้อนปูน

                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่้าถึงปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็น

                  ด่างปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-8.0 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท้านา
                  ข้าวที่ปลูกโดยมากให้ผลผลิตค่อนข้างสูง แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                    - หน่วยที่ดินที่ 5 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ร้อยละ 1,354 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.26 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                    - หน่วยที่ดินที่ 5M สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ร้อยละ 290 ไร่
                  หรือร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                (2)   กลุ่มชุดดินที่เป็นดินเหนียวลึกมากสีเทา ที่เกิดจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวก

                  ตะกอนล้าน้้า พบในบริเวณพื้นที่ราบตะกอนน้้าพาที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ

                  มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน การระบายน้้าเลว ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ค่าความเป็นกรด-ด่าง
                  ดินบนอยู่ระหว่าง 5.0-6.5 ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่้ามากถึงต่้าปานกลาง และ

                  ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างต่้า พบในพื้นที่ลุ่มต่้า มีน้้าไหลบ่าท่วมขังสูงในฤดูฝน ปัจจุบัน

                  บริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท้านา บางพื้นที่มีการยกร่องเพื่อปลูกไม้ยืนต้น เช่น ปาล์มน้้ามัน แบ่งเป็น
                  หน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                    -  หน่วยที่ดินที่ 6 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 4,586 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.87 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                         -            หน่วยที่ดินที่ 6M  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง

                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 1,791 ไร่ หรือร้อยละ 0.34 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                (3)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินเปรี้ยวจัดลึกปานกลาง เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุต้นก้าเนิด
                  ดินพวกตะกอนผสมของตะกอนล้าน้้าและตะกอนน้้าทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้้ากร่อย ในบริเวณที่

                  ลุ่มต่้าชายฝั่งทะเล หรือบริเวณพื้นที่พรุ มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้้าเลวมาก

                  มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีด้าหรือสีเทาปนด้า ซึ่งมีปริมาณอินทรียวัตถุสูง ดินล่างมีสีเทา มีจุดประ

                  สีเหลืองและสีน้้าตาลปะปนอยู่เล็กน้อย ดินช่วงล่างลึกกว่า 80 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นดินเลนสีเทา
                  ปนเขียวที่มีสารประกอบก้ามะถันมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดิน

                  เป็นกรดรุนแรงมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างน้อยกว่า 4.5 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่เป็น

                  ป่าเสม็ด มีวัชพืชต่างๆ เช่น กก กระจูด และ หญ้าชันกาศ เป็นพืชพื้นล่าง บางแห่งใช้ท้านาแต่ผลผลิตต่้า
                  หากไม่มีการใช้ปูนเพื่อแก้ไขความเป็นกรดของดิน พืชที่ปลูกมักไม่ค่อยได้ผล แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                     - หน่วยที่ดินที่  14 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 114  ไร่

                  หรือร้อยละ 0.02 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา






                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55