Page 54 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองละงู
P. 54

3-6





                                (4)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินตื้นถึงลูกรังเศษหินหรือก้อนหิน เป็นกลุ่มดินที่พบในเขต

                  ฝนตกชุก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อละเอียด

                  หรือจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนล้าน้้า พบบนพื้นที่ดอน ที่มีลักษณะสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือ
                  ค่อนข้างราบเรียบ ถึงลูกคลื่นลอนชัน เป็นดินตื้น มีการระบายน้้าดีปานกลาง เนื้อดินเป็น

                  พวกดินเหนียวหรือดินร่วนที่มีกรวดหรือลูกรังปะปนเป็นปริมาณมาก กรวดส่วนใหญ่เป็นพวกหินกลมมน

                  หรือเศษหินที่มีเหล็กเคลือบ สีดินเป็นสีน้้าตาลอ่อน สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์

                  ตามธรรมชาติต่้า ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง มีค่าความเป็นกรด-ด่างดินบนอยู่ระหว่าง
                  5.0-6.0  ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่้า และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างต่้า

                  ปัญหาส้าคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดินของหน่วยแผนที่นี้ได้แก่ เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่้า

                  บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย  ปัจจุบันบริเวณ

                  ดังกล่าวใช้ปลูกยางพารา กาแฟ ปาล์มน้้ามัน มะพร้าว หรือไม้ผลบางชนิด เช่น เงาะ มังคุด บางแห่งเป็น
                  ที่รกร้างว่างเปล่าหรือทุ่งหญ้าธรรมชาติ แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                -  หน่วยที่ดินที่ 45  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 528 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.10 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                -  หน่วยที่ดินที่  45B สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีเนื้อที่ 38,591 ไร่

                  หรือร้อยละ 7.32 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่ 45Bb สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีการปั้นคันนาเพื่อ

                  ปลูกข้าว มีเนื้อที่ 507 ไร่ หรือร้อยละ 0.10 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                    - หน่วยที่ดินที่ 45C สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด มีเนื้อที่ 2,489 ไร่ หรือร้อยละ

                  0.47 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                -  หน่วยที่ดินที่  45D สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน มีเนื้อที่ 89 ไร่ หรือร้อยละ
                  0.02 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                -  หน่วยที่ดินที่  45gm เป็นดินที่ได้รับอิทธิพลจากการแช่ขังของน้้า สภาพพื้นที่

                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 85 ไร่ หรือร้อยละ 0.02 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                    -  หน่วยที่ดินที่  45gmb เป็นดินที่ได้รับอิทธิพลจากการแช่ขังของน้้า สภาพพื้นที่
                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการปั้นคันนาเพื่อปลูกข้าว มีเนื้อที่ 1,400 ไร่ หรือร้อยละ 0.26 ของพื้นที่

                  ลุ่มน้้าสาขา

                                (5)  กลุ่มชุดดินที่เป็นดินร่วนลึกปานกลางถึงเศษหิน เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่
                  หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของหินเนื้อหยาบ หรือจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนล้าน้้า

                  พบบนพื้นที่ดอน มีลักษณะพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน เป็นกลุ่มดินลึกปานกลาง






                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59