Page 183 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 183

4-12





                                  3.  ควรปรับปรุงคุณภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์

                  ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ตามความเหมาะสมของคุณภาพดิน

                                  4.  ส่งเสริมทางเลือกในการพัฒนาที่ดินโดยให้ความรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน
                  ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยการขุดบ่อเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล และไม้ยืนต้นร่วมกัน

                                         5.  ส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมกันปลูกพืชผักอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิต

                                  6.  ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสร้างอ้านาจต่อรอง

                  ทางการเกษตร

                                   2.2.4  เขตปลูกไม้ยืนต้น (หน่วยแผนที่ 224)
                                         มีพื้นที่ 189,159 ไร่ หรือร้อยละ 14.71 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา ดินมีการระบายน้้าดี

                  มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติค่อนข้างต่้า ปัจจุบันนิยมปลูกยางพาราและปาล์มน้้ามัน กันเป็น

                  จ้านวนมาก จากผลการประเมินความเหมาะสมทางกายภาพ พบดินมีความเหมาะสมเล็กน้อย
                  โดยมีข้อจ้ากัดเรื่องการหยั่งลึกของรากพืช และมีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน

                                  แนวทางการพัฒนา

                                  1.  ควรพัฒนาแหล่งน้้าขนาดเล็กในพื้นที่ รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของ
                  แหล่งน้้าตามธรรมชาติ เช่นเหมือง ฝาย ให้สามารถกักเก็บน้้าได้ รวมถึงการส่งเสริมให้มีการขยาย

                  เขตโครงการชลประทานในพื้นที่เกษตรกรรม

                                         2.  หน่วยงานของรัฐต้องเร่งให้การสนับสนุนทั้งเงินลงทุน และทางวิชาการ
                  แก่เกษตรกรในพื้นที่เขตนี้อย่างจริงจังเพราะเป็นพื้นที่ที่ทรัพยากรที่ดินมีข้อจ้ากัดต่อการเกษตรกรรม

                  ค่อนข้างสูง แต่เกษตรกรในพื้นที่มีความยากจน และไม่สามารถเปลี่ยนการประกอบอาชีพเป็นอย่างอื่นได้

                                  3.  ปรับปรุงโครงสร้างของดิน โดยการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ซึ่งจะ

                  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอุ้มน้้าของดิน และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืช โดยมีการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
                  ที่เหมาะสมกับชนิดพืช ทั้งเรื่องสูตรปุ๋ย จ้านวนและช่วงระยะที่ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม

                                  4.  พื้นที่ลาดชันควรส่งเสริมให้มีการจัดอนุรักษ์ดินและน้้าในพื้นที่


                          2.3   เขตเร่งรัดพัฒนาการเกษตร (หน่วยแผนที่ 23)
                                  มีพื้นที่ 215,389 ไร่ หรือร้อยละ 16.76 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา เป็นพื้นที่ที่ใช้น้้าฝนเป็นหลัก

                  ในการเกษตรและพบปัญหาการใช้ที่ดิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตื้น รวมถึงเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง
                  จึงก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน แต่เนื่องจากเกษตรกรมีความจ้าเป็นต้องใช้พื้นที่ดังกล่าว

                  เพื่อท้าการเกษตร ทั้งที่ผลการประเมินความเหมาะสมของที่ดินในเขตนี้อยู่ระดับเหมาะสมเล็กน้อย
                  จ้าเป็นต้องปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งวิธีการอาจยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง พื้นที่นี้สามารถแบ่งเขตการใช้ที่ดิน

                  เพื่อการผลิตได้ 4 เขต ดังนี้





                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188