Page 119 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 119

3-43





                  โดยการวิธีกลนี้เป็นการป้องกันการชะล้างพังทลายได้ทันที แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง และในระหว่างก่อสร้าง

                  ต้องพิถีพิถันท้าให้ดี มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้นไปอีก ซึ่งสามารถท้าได้หลายวิธีคือ

                                         (2.1)  การปลูกพืชตามแนวระดับ (Control  cultivation)  ได้แก่ การไถพรวน
                  ปลูกและเก็บเกี่ยวพืชขนานไปตามแนวระดับ ขวางความลาดชันของพื้นที่ เหมาะที่จะใช้ในพื้นที่ที่มี

                  ความลาดชัน 2-7 เปอร์เซ็นต์

                                         (2.2)  การสร้างคันดินกั้นน้้า (Terracing)  เป็นการสร้างคันดินหรือร่องน้้า

                  ขวางความลาดชันของพื้นที่เพื่อลดความยาวของพื้นที่ที่รับน้้าฝนให้สั้นลง อย่างไรก็ตามการที่จะให้
                  คันดินกั้นน้้ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินนั้นจะต้องท้าการปลูกพืช

                  ตามแนวระดับ และใช้มาตรการอื่นๆ ผสมผสานไปด้วย ชนิดของคันดินแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

                                            (ก)  คันดินขั้นบันได (Bench Terrace) ท้าโดยการปรับพื้นที่ลาดชันให้

                  เป็นขั้นบันไดซึ่งนอกจากจะลดความยาวของความลาดชันของพื้นที่แล้ว ยังเป็นลดการลาดชันของ
                  พื้นที่ลงอีกด้วย ขั้นบันไดดินนี้ส่วนใหญ่ใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดชันเกินกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป

                  และดินต้องเป็นดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร

                                            (ข)  คันดินกั้นน้้า (Field Terrace) เป็นการสร้างคันดินและร่องน้้าขวาง
                  ความลาดชันของพื้นที่เป็นช่วงๆ ซึ่งอาจจะเป็นคันดินแบบลดระดับ (Graded  terrace)  เพื่อช่วยระบายน้้า

                  หรือเป็นแบบระดับ (Level) เพื่อช่วยกักเก็บน้้าไว้

                                         (2.3)  การปรับพื้นที่เฉพาะหลุม (Individual basin) เป็นการปรับพื้นที่
                  เป็นช่วง ๆ เฉพาะบริเวณหลุมปลูกต้นไม้ เหมาะที่จะใช้กับไม้ผล และไม้ยืนต้นต่างๆ ขนาดของหลุม

                  ยิ่งกว้างมากก็ยิ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการชะล้างของดินได้สูง

                                         (2.4)  คูรับน้้ารอบเขา (Hillside  ditch)  เป็นคูรับน้้าที่จัดท้าขึ้นขวางความ
                  ลาดชันของพื้นที่เป็นช่วง ๆโดยมีระดับของร่องน้้าลาดไปยังทางน้้าที่จัดท้าขึ้นหรือบริเวณที่รับน้้าได้

                  เช่น ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือแปลงพืชคลุมหนา ๆ

                                         (2.5)  คันดินเบนน้้า (Diversion) เป็นคันดินขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อเบนน้้า

                  เหนือพื้นที่ไม่ให้เข้าไปรบกวนในไร่นา ที่พักอาศัย ฯลฯ หรืออาจจะเบนน้้าไปลงอ่างเก็บน้้าก็ได้
                                         (2.6)  เขื่อนกั้นร่องน้้า (Check dam) เป็นสิ่งก่อสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการชะล้าง

                  พังทลายแบบร่องลึกโดยสร้างขวางทางน้้าเป็นช่วง ๆ ในร่องน้้าที่เกิดการกัดเซาะ เพื่อชะลอความเร็ว

                  ของน้้า ช่วยให้เกิดการตกตะกอนทับถมในร่องน้้า ท้าให้ร่องน้้าตื้นเขินสามารถน้ามาใช้ประโยชน์
                  ได้ต่อไป เขื่อนกั้นร่องน้้านี้อาจสร้างด้วยเศษไม้ ท่อนไม้ หิน ดิน หรือคอนกรีตก็ได้

                                         (2.7)  ทางระบายน้้า (Waterway) สร้างขึ้นเพื่อรับน้้าจากคันดินกั้นน้้า คูรับน้้า

                  รอบเขาหรือบริเวณระบายน้้าของอ่างเก็บน้้า เพื่อควบคุมการไหลของน้้าไปยังที่ก้าหนดไว้ โดยไม่ให้




                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124