Page 66 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 66

47





                                7.1.5 ลักษณะทางธรณีวิทยา
                                      ลักษณะทางธรณีวิทยาในพื้นที่ลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าป่าสักส่วนที่ 3 (อภิศักดิ์, 2541) โดยมี

                  รายละเอียดดังนี้ (ภาพที่ 9)
                                        1)  ยุคควอเทอร์นารี  (Quaternary  Period)  เป็นยุคที่ 2  ของมหายุคซีโนโซอิก

                  (Cenozoic)  มีช่วงอายุประมาณ 0.01-1.8 ล้านปี แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือ ไพลสโตซีน (Pleistocene)

                  และโฮโลซีน  (Holocene)  ยุคนี้ได้ประมวลเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาตลอดจนการสะสมของตะกอนบนผิว
                  โลก นับตั้งแต่สิ้นยุคเทอร์เซียรี (Tertiary) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ตะกอนที่เกิดในยุคนี้บริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่

                  น้ าป่าสักส่วนที่ 3 ได้แก่

                                               Qa : หินตะกอนและหินชั้น
                                               Qt : หินตะกอนและหินชั้น

                                        2) ยุคเทอเชียรี่ (Tertiary) เป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) เป็นยุค
                  เริ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีธารลาวาไหลปกคลุมไปทั่ว และมีการสร้างภูเขา มีช่วงอายุประมาณ 1.8-65

                  ล้านปี แบ่งออกได้เป็น 5 สมัย คือ ไพลโอซีน (Pliocene), ไมโอซีน (Miocene),  โอลิโกซีน (Oligocene),
                  อีโอซีน (Eocene) และพาลีโอซีน (Paleocene) หินที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าป่าสักส่วนที่ 3 ได้แก่

                                               Tbs : หินอัคนี

                                               Tmm : หินตะกอนและหินชั้น
                                               Tv : หินอัคนี

                                        3)  ยุคจูแรสซิก  (Jurassic)  อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic) เป็นมหายุคของ

                  สัตว์เลื้อยคลาน มีช่วงอายุประมาณ 190-136 ล้านปี หินที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าป่าสักส่วนที่ 3 ได้แก่
                                               JKpw : หินตะกอนและหินชั้น

                                        4) ยุคไทรแอสซิก (Triassic Period) ยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic) มี
                  ช่วงอายุตั้งแต่ 225-190 ล้านปี เป็นยุคแรกเริ่มของไดโนเสาร์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีภูเขาไฟระเบิด และ

                  ภูมิอากาศแห้งแล้ง หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคไทรแอสซิก (Triassic System) ที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขา
                  แม่น้ าป่าสักส่วนที่ 3 ได้แก่

                                               Trgr : หินอัคนี

                                               Trhl : หินตะกอนและหินชั้น
                                               Trn : หินตะกอนและหินชั้น

                                        5) ยุคเพอร์เมียน (Permian) ยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก เป็นยุคเริ่มต้นของ

                  สัตว์เลื้อยคลาน และแมลงพบมาก อากาศแห้งแล้ง เกิดภูเขา Appalachian  ในอเมริกา และมีธารน้ าแข็ง
                  ปกคลุมบางบริเวณ ช่วงอายุตั้งแต่  290-225  ล้านปี หินที่เกิดขึ้นในยุคนี้เรียกว่า หินยุคเพอร์เมียน

                  (Permian System) ที่พบในบริเวณลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าป่าสักส่วนที่ 3 ได้แก่
                                               Ps : หินตะกอนและหินชั้น

                                               Ps-1 : หินตะกอนและหินชั้น
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71